การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ กับความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ กับความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับความรู้ กับการใช้ประโยชน์ความสัมพันธ์การเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ กับความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์และศึกษาเปรียบเทียบการเปิดรับความรู้ การใช้ประโยชน์ที่มีต่อความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิเคราะห์จากนักศึกษา 13 คณะวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระดับปริญญาตรี 13 คณะ จำนวน 400 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืนมา จำนวน 400คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่ใช้ในการเรียนการสอนคิดเป็นร้อยละ 91.3 และไม่มี คิดเป็นร้อยละ 8.8 และใช้ e-learning จากที่พักของนักศึกษามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 59.5 รองลงมาคือ มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 34.0 ร้านอินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 3.5และอื่น ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตของตนเองคิดเป็นร้อยละ 3.0ตามล าดับ นอกจากนี้แหล่งที่นักศึกษาใช้ e-learning ในมหาวิทยาลัยมากที่สุด ได้แก่ โต๊ะที่นั่งตามอาคารต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาคือ อื่น ๆ เช่น ห้องเรียนโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตหอพักนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 16.8 ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 14.5 โรงอาหารคิดเป็นร้อยละ 14.5 ห้องคอมพิวเตอร์ประจำคณะคิดเป็นร้อยละ 5.0 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับความรู้กับความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ (e-learning) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติความสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ 0.687 อยู่ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01และมีความสัมพันธ์เชิงบวกความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์กับความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ (e-learning) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติความสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ 0.810 อยู่ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01และมีความสัมพันธ์เชิงบวกความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับความรู้กับการใช้ประโยชน์ที่มีต่อความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ (e-learning) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติความสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ 0.784 อยู่ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิเคราะห์จากนักศึกษาคณะวิชาต่าง ๆ ด้านเนื้อหา ด้านการน าเสนอภาพ สี ตัวอักษรและเสียงประกอบ ด้านแบบทดสอบและประเมินผล และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่วิเคราะห์จากนักศึกษา 13 คณะ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’S Method)แล้วกลับไม่พบความแตกต่างเป็นรายคู่ ไม่พบรายคู่คณะวิชาใดที่มีความพึงพอใจการเรียนแบบออนไลน์ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพ สี ตัวอักษรและเสียงประกอบ ด้านแบบทดสอบและประเมินผล และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The research on correlations among HCU undergraduates’ academic perception, utilization, and satisfaction of e-learning is a quantitative study. Its objectives are, to examine the students’ satisfaction with e-learning, their academic perception and utilization of e-learning, to analyze correlations among their academic perception, utilization, and satisfaction, and, to compare the academic perception and the utilization to the satisfaction, based on a sample of 400 HCU undergraduates in 13 faculties. 400copies of the questionnaires had been distributed and 400 copies (100%) were answered. The result revealed that most of the students (91.3%) have their own personal computers, and the locations where they use e-learning platform most frequently (59.5%) are the places they live, followed by the university (34%), internet cafés (3.5%), and other places (3%) respectively. At university, the most popular area for e-learning participation is at tables available around university buildings (49%), followed by classrooms and dormitories (16.8%), computer labs of the university (14.5%), canteens (14.5%), and computer labs of their faculties (5%) respectively. The academic perception is positively related to the satisfaction of e-learning at a significance level of 0.01, with moderate correlation (r = 0.687).The utilization is positively related to the satisfaction of e-learning at a significance level of 0.01, with high correlation (r = 0.810). The academic perception together with the utilization is positively related to the satisfaction of e-learning at a significance level of 0.01, with high correlation (r = 0.784). In comparison, among the students in 13 faculties, the levels of satisfaction of e-learning in aspects of contents, presentation, test & evaluation, and equipment are different at a significance level of 0.05. Nevertheless, according to the paired comparison by Scheffe’s method, there are no significant differences.