งานวิจัยเรื่อง การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยนาทเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกคุณค่าความสำคัญทางวัฒนธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดชัยนาทจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ สวนนกชัยนาท วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดธรรมามูลวรวิหาร วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เขื่อนเจ้าพระยา และเมืองสรรคบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยแนวคิดด้านการประเมินคุณค่าความสำคัญทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม ความแท้ดั้งเดิม เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์(Identity) ของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 6 แห่ง ผลจากการวิจัยพบว่าแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดชัยนาทจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดธรรมามูลวรวิหาร วัดพระบรมธาตุวรวิหาร และเมืองสรรคบุรี มีความโดดเด่นในด้านมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนเขื่อนเจ้าพระยาและสวนนกชัยนาท มีคุณค่าความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความโดดเด่นในระดับประเทศ สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการประเมินคุณค่าความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมนั้น ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทสามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว โดยการจัดการด้านการสื่อความหมายท่องเที่ยว และการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาทมากขึ้น และสร้างผลกระทบเชิงบวกจากการท่องเที่ยวมากขึ้น
The research examines major tourist attractions in Chai Nat province of Thailand, and aims to provide relevant information to assist increating tourism added value for the region. A qualitative research method was employed to assess the cultural significance of tourism destinations. Local communities participated in identifying six major tourist attractions in Chai Nat province; Chai Nat Bird Park, Pak Khong Makham Thao Temple, Phra Borommathat Wora Wihan Temple, Thammamun Wora Wihan Temple, Chao Phraya Dam, and Muang Sankhaburi. A review of the preceding literature relating to cultural significance assessment was undertaken, and in-depth interviews were conducted to comprehend the cultural significance of tourism destinations. The data was analysed based on the concept of a cultural significance assessment, using seven categories; Aesthetic Value, Historical Value, Social Value, Environmental Value, Authenticity, Uniqueness and Identity. The study revealed that the cultural heritage features at four tourist attractions in Chai Nat province; Pak Khong Makham Thao Temple, Phra Borommathat Wora Wihan Temple, Thammamun Wora Wihan Temple, and Muang Sankhaburi were regarded as outstanding. In addition, the environmental values of the Chao Phraya Dam and Chai Nat Bird Park are rated on a national level. The study provides a useful assessment of the regions cultural significance for both tourism entrepreneurs and stakeholders in Chai Nat province. The results of the study are applicable and instrumental in providing tourism added value for Chai Nat province via the use of tourism interpretation and creative tourism management, in order to attract more tourists to visit Chai Nat province and maximise positive impacts of tourism.