วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจางในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 และ 2555 จำนวน 3,849 ราย ที่ระบุเพศ เป็นเพศชาย 733 ราย และเพศหญิง 3,116 ราย โดยทำการตรวจตัวอย่างเลือดด้วยเครื่องวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติเพื่อเก็บข้อมูลทางโลหิตวิทยา ใช้ค่าฮีโมโกลบิน และดัชนีเม็ดเลือดแดงในการบ่งชี้ภาวะโลหิตจางและการจำแนกชนิดของภาวะโลหิตจาง ตามลำดับ ผลการศึกษา พบว่า มีนักศึกษาที่มีภาวะโลหิตจางจำนวน 770 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า จากเพศชายทั้งหมด 733 ราย พบภาวะโลหิตจางจำนวน 23 ราย (ร้อยละ 3.1) และจากเพศหญิงทั้งหมด 3116 ราย พบภาวะโลหิตจางจำนวน 747 ราย (ร้อยละ 24) การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย 9 เท่า (OR=9; 95% CI, 6.4-14.9; p<0.05) ) สำหรับชนิดของภาวะโลหิตจางนั้น พบ microcytic anemia 560 ราย (ร้อยละ 73) และ normocytic anemia 210 ราย (ร้อยละ 27) แต่ไม่พบ macrocytic anemia โดยพบว่า อัตราความชุกของภาวะโลหิตจางชนิด microcytic anemia สูงกว่าอัตราความชุกของภาวะโลหิตจางชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
This study aimed to determine the prevalence of anemia among first year students at Huachiew Chalermprakiet University in academic year 2011 and 2012. Hematological data and red blood cell parameters using an automated analyzer were obtained from three thousand eight hundred and forty-nine subjects during orientation week. Interestingly, 770 (20%) subjects were found to be anemic. Among the 733 male students, 23 (3.1%) were anemic, and among the 3116 female students, 747 (24%) were anemic. The study surprisingly showed that adolescent girls had 9 times (OR= 9; 95% CI, 6.4-14.9; p<0.05). higher risk in becoming anemic than adolescent boys. Moreover, once subjects were classified into different types of anemia, we found that 210 (27%) subjects had normocytic anemia, 560 (73%) subjects had microcytic anemia, but no macrocytic anemia was found. Moreover, the prevalence of microcytic anemia is significantly higher than other types of anemia (p<0.05).