งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการไล่มดของสารสกัดหยายด้วยเอทานอลจากสมุนไพร 7 ชนิด ได้แก่ เมล็ดพริกไทยดำ เหง้าข่า ใบโหระพา กาบใบตะไคร้ เปลือกผลมะนาว เปลือกผลมะกรูด และรากหนอนตายหยาก การทดลองทดสอบในพื้นที่ที่พบมดในธรรมชาติ โดยนับจำนวนมดแดงที่มาตอมเหยื่อบนกระดาษกรองที่ชุบด้วยสารสกัดจากสมุนไพรทีความเข้มช้น 0.625 1.25 2.5 และ 5 % w/v ที่เวลา 0-30 นาที ผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบจากเหง้าข่าที่ความเข้มข้น 5 % w/v มีอัตราการไล่มด (% repellency; %R) ได้ดีที่สุด (%R = 94.72 +- 2.39) รองลงมา คือ กาบใบตะไคร้ (% R = 89.45 +- 3.85) รากหนอนตายหยาก (%R = 82.92 +- 4.47) และเมล็ดพริกไทยดำ (%R = 81.20 +- 5.92) โดยอัตราการไล่มดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุมแบบลบ (น้ำกลั่น) P<0.05 เนื่องจากสารสกัดจากเหง้าข่ามีประสิทธิภาพในการไล่มดได้ดีที่สุด จึงนำสารสกัดหยาบจากเหง้าข่ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ไล่มดในรูปแบบสเปรย์ ครีม ชอล์ก และผงโรยพบว่าสเปรย์จากเหง้าข่ามีความเข้มข้น 5% w/v มีประสิทธิภาพในการไล่มดได้ดีที่สุด (%R = 100) ที่เวลา 30 นาที จากผลแบบประเมินความชอบในการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่มดในรูปแบบสเปรย์ พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมในการใช้ผลิตภัณฑ์ระดับมาก
This research aims to study the ant repellent effects of the crude ethanolic extracts from 7 herbs; Piper nigrum Linn., Alpinia galanga(L.) Willd, Ocimum basilicumL., Cymbopogon citratus Stapf, Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle, Citrus hystrix DC, and Stemona collinsae Craib. Whatman filter paper was dipped with each concentration of the crude ethanolic extracts (0.625 1.25 2.5 and 5 % w/v) and placing the bait on a treated filter paper. The experiments were conducted in the natural. The numbers of weaver ants were recorded at 0 - 30 minutes. From the results, the crude ethanolic extracts at 5%w/v of A. galanga was the most effective for repellent the ant, (repellent rate; %R = 94.72 ± 2.39) followed with C. citratus (%R = 89.45 ± 3.85), S. collinsae (%R = 82.92 ± 4.47), and P. nigrum(%R = 81.20 ± 5.92). The repellent rates of those crude ethanolic extracts were significantly difference from distilled water which use for the negative control(P < 0.05). The crude ethanolic extract of A. galanga at concentration 5% w/v was prepared as spray, cream, chalk and powder. At 30 minutes of the observation, the ethanolic extracts of A. galanga spray was the best ant repellent effect (%R = 100). The result from questionnaires reveals that a spray preparation was the more satisfaction for the using ant repellent products.