การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลด้านภาวะสุขภาพ แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford knee score) และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index) รายฉบับเท่ากับ 1.00 และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.76, 0.76, 0.87, 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของไคว์สแควร์ (chi-square test)
ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.00 มีระดับความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 25.00 มีอาการปวดเข่าอยู่ในระดับรุนแรง และเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 77.50 มีพฤติกรรมการดูตนเองที่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยค่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This descriptive cross-sectional design aimed to study the severity of osteoarthritis, home self-care behavior of osteoarthritis and factors related to home self-care behaviors in 40 elderly with osteoarthritis, Wat Salud Community, Bang Phil District, Samut Prakarn Province. Research tools included: Personal information questionnaire, health status questionnaire, evaluation of the severity of osteoarthritis (Oxford knee score) and self-care behavior questionnaire for the elderly with osteoarthritis. The research instruments were content validated by 3 nursing experts. The content validity index was 1. The Cronbach’s alpha coefficient was 0.76, 0.76, 0.87, 0.80, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square statistics.
The results showed that 30% of the subjects had a moderate level of osteoarthritis followed by 25% of them with severe pain and having initial osteoarthritis symptoms. It was found that 77.5% of the subjects had home self-care behaviors that were at a moderate level. The body mass index was significantly correlated with the self-care behaviors of the elderly with osteoarthritis