โรคติดเชื้อนับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในปัจจุบันเนื่องจากปริมาณเชื้อก่อโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทำให้การรักษาโรคติดเชื้อดื้อยาให้หายนั้นมีความเป็นไปได้ยาก จึงทำให้เกิดการคิดค้นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านเนื่องจากมีความหลากหลายทางเคมีและมีความปลอดภัยสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ของสารสกัดจากเหง้าขิง ข่า และกระชาย ที่ใช้วิธีการสกัดแตกต่างกัน และนำสารสกัดที่ได้มาพัฒนาเป็นส่วนผสมในสเปรย์สมุนไพรเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบนผิวสัมผัส เพื่อทดแทนหรือลดการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ โดยเตรียมสารสกัดจากเหง้าขิง ข่า และกระชาย ด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ และการทอดด้วยน้ำมันมะพร้าว จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus ด้วยวิธี Agar well diffusion จากนั้นหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อ ด้วยวิธี Microbroth dilution assay และค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Streak plate จากนั้นนำสารสกัดที่ได้นำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมในสเปรย์สมุนไพรเพื่อยับยั้งเชื้อก่อโรคบนผิวสัมผัส โดยทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ของสเปรย์สมุนไพร ด้วยวิธี Method 960.09 Germicidal and Detergent Sanitizing Action of Disinfectants พบว่าสเปรย์สมุนไพรข่าและกระชายสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้มากกว่า 99.999 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 60 วินาที
Recently, infectious diseases are the main cause of death because the number of antibiotic resistant pathogens increasing. It was difficult to cure infection diseases, leading to the research of the traditional herbal products because it has chemical diversity and high safety. The purposes of this study were to determined antimicrobial activity of ginger, galangal and fingerroot extracts by means of different extraction methods. The extracts were developed as an ingredient in herbal spray to inhibit bacteria on the skin for compensating or reduce the chemical disinfectants. Then, the bacterial inhibitory efficiency of ginger, galangal and fingerroot extracts was determined using microbroth dilution assay, and then the extracts determined the minimum inhibitory concentration or MIC and the minimum bactericidal concentration or MBC using streak plate technique. Then the extracts were developed as an ingredient in herbal spray to inhibit Staphylococcus aureus on the skin and microbicidal efficacy test bactericidal efficacy assay using the Method 960.09 Germicidal and Detergent Sanitizing Action of Disinfectants demonstrated ginger, galangal and fingerroot extracts can inhibit Staphylococcus aureus 99.999 percentage in 60 seconds.