การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งในนวนิยายวายไทย จำนวน 16 เรื่อง นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีการแต่งสำคัญที่ทำให้นวนิยายวายแตกต่างจากนวนิยายอื่น ได้แก่การสร้างโครงเรื่องของนวนิยายวาย เป็นการสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละครรักร่วมเพศ และตัวละครรักร่วมเพศกับตัวละครอื่น และความขัดแย้งในจิตใจของตัวละครรักร่วมเพศที่สับสนในตัวเอง ไม่รู้หรือไม่ยอมรับตัวเองชอบบุคคลเพศเดียวกัน ด้านตัวละครแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือพระเอกกับนายเอกเป็นตัวละครหลักที่ได้แสดงความรักระหว่างเพศเดียวกันและตัวละครรอบข้างตัวละครรักร่วมเพศเป็นตัวละครที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครหลัก เป็นพ่อแม่ เพื่อน และพี่น้องหรือหลาน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นคู่ขัดแย้งหรือผู้ช่วยเหลือให้ปัญหาความรักของตัวละครรักร่วมเพศคลี่คลายการสร้างฉากและบรรยากาศแบ่งเป็น พื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สาธารณะ ซึ่งต่างมีผลต่อการแสดงตัวตนความรู้สึก และความสัมพันธ์ที่แท้จริงของตัวละครรักร่วมเพศและฉากยังเป็นพื้นที่ที่ตัวละครหลักแสดงความสัมพันธ์ลักษณะเปิดเผยตัวตนกับตัวละครอื่น ๆ
This research aimed to analyze literary techniques of Thai Y-novel Sixteen novels
were studied, and three main literary techniques were observed as the following. 1 ) Plot,
the Y-novel generally presented its unique plot with conflicts between the homosexual
major characters; conflicts between them and other heterosexual minor characters; or
conflicts between the homosexual major characters and themselves. 2 ) Character, the
protagonist of all Y novels was homosexual males who had sexual affairs with his male
partners. Other minor characters usually related to the protagonist as parents, friends,
brothers or sisters, and relatives. Roles of these characters might be against with the
protagonist or supported him to get through his love problems. 3 ) Setting, mainly the Y novel presented two types, a personal and a public, setting which both affected to identity
expression; feelings; and the true relationship of the homosexual characters.