บทความเรื่อง “ภาพสะท้อนสังคมคนจีนในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย” มีจุดประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมคนจีนในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ขอบเขตของการวิเคราะห์ คือ นวนิยาย เรื่อง มาจากสองฝั่งฟ้า เมียเจ้า หนึ่งร้อยสัมผัสลับ และสามสายใยในเงาอดีตบทความวิจัยนี้จะกล่าวถึงภาพสะท้อนสังคมจีนในสหรัฐอเมริกาในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมจีนในสหรัฐอเมริกาในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและประเพณีของสังคมจีนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา ในด้านความเชื่อได้สะท้อนถึงความเชื่อเรื่องผีหรือปีศาจ ความเชื่อโชคชะตา ความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ และความเชื่อเรื่องข้อห้าม ส่วนด้านประเพณีได้สะท้อนถึงประเพณีวันไหว้พระจันทร์และประเพณีวันตรุษจีน งานวิจัยนี้พบว่าพ่อแม่ที่เป็นชาวจีนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกายังมีความเชื่อแบบชาวจีน และพยายามสืบทอดให้ลูกหลานในชีวิตประจำวัน และปฏิบัติตามประเพณีในวันสำคัญ เช่น วันไหว้พระจันทร์จัดงานเลี้ยงเพื่อรวมญาติพี่น้องมารับประทานอาหารด้วยกัน ในวันตรุษจีน เตรียมอาหารที่มีความหมายมงคล และรวมเพื่อนที่เป็นกลุ่มชาวจีนมารับประทานอาหารข้ามคืนต้อนรับปีใหม่ด้วยกัน ส่วนลูกที่เป็นชาวเมริกาเชื้อสายจีน ความเชื่อและการปฏิบัติประเพณีจะเป็นแบบผสมผสานจีนกับอเมริกา
This research article aims to analyze reflections of Chinese society in the American context. Four translated novels into Thai by Amy Tan, including The Joy Luck Club (1994); The Kitchen God’s Wife (2004); The Bonesetter’s Daughter (2004); and The Hundred Secret Sense (2007) are studied with document research methods. Two areas of the reflections are observed, as the following. 1) Chinese beliefs, relating to spirits and ghosts; destiny; heaven and hell; and taboos. 2) Chinese traditions, namely practices on the Mid-Autumn Festival and on Chinese New Year Day. For the Mid-Autumn Festival, a family party is held to gather all family members and have dinner together. On Chinese New Year Day, auspicious food is prepared for dinner with friends and family members on the last day of the year. It is noticed that Chinese parents living in the USA continue practicing and handing down their Chinese beliefs to their descendants, while the new American Chinese generation practices the mixed cultures.