การวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเจตคติการอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีต่ออุทยานแห่งชาติในประเทศไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้านการยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม ด้านการยึดธรรมชาติมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านการท่องเที่ยวและธรรมชาติมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้านการยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อด้าน การอนุรักษ์ธรรมชาติโดยผ่านด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม การค้นพบในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมสามารถเพิ่มผลกระทบเชิงบวกได้ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านการยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางและด้านการยึดธรรมชาติเป็นศูนย์กลางซึ่งทำให้เจตคติที่มีต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติสูงขึ้น
The findings revealed that the casual relationship model of attitudes to nature affecting conservation toward national parks in Thailand with regard to the hypothesis was consistent to the empirical data. Anthropocentrism directly influences in a negative way toward nature conservation, whereas eco-centrism directly influences in a positive way toward nature conservation. Tourism and environment directly influences in positive ways toward nature conservation. Anthropocentrism indirectly influences in a positive way toward nature conservation through tourism and the environment. Eco-centrism indirectly influences in a positive way toward nature conservation through tourism and the environment. The finding showed that tourism and environment can increase the positive effects both in the attitudes of anthropocentrism and eco-centrism which made the attitudes toward nature conservation higher