งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการปรับตัวและปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักเรียนไทยที่ไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมียอ ชมมากที่สุดแบบจัดเรียงตามลำดับความนิยมจากช่อง YouTube ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2565 จำนวน ทั้งหมด 10 ตอน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการปรับตัวเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่ของนักเรียนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตื่นตาตื่นใจ นักเรียนไทยเกิดความรู้สึกแบบตื่นเต้น สนุกสนาน ยินดีและตื่นตาตื่นใจ 2) ขั้นตระหนกทางวัฒนธรรม นักเรียนไทยมีความรู้สึกท้อแท้และตึง เครียด 3) ขั้นเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ นักเรียนไทยเริ่มเข้าใจและเปิดใจรับวัฒนธรรมอเมริกัน 4) ขั้นปรับตัว เข้าสู่วัฒนธรรมใหม่ นักเรียนไทยมีความรู้สึกสนุกสนาน สามารถผูกมิตรและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคนอเมริกัน ปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการปรับตัวด้านวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มี 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลและเตรียมตัวเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่ บุคลิกนิสัย ที่ดี ทัศนคติเชิงบวก ความคาดหวังที่ไม่สูงเกินความจริง และการเตรียมภาษาและวัฒนธรรมให้พร้อม เป็นปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่สามารถลดความตระหนกทางวัฒนธรรมให้น้อยลง และ 2) สภาพแวดล้อมของสังคมประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะวัฒนธรรมที่อิสระเสรี ความประทับใจแรกพบเชิงบวกต่อสังคม การได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มคนในสังคม การได้รับรองอย่างเป็นทางการจากราชการและการเลือกไปที่ ที่มีคนไทยน้อยและเพิ่มความถี่ในการสื่อสารกับชาวอเมริกันให้มากขึ้น มีส่วนช่วยในการปรับตัวด้าน วัฒนธรรมของนักเรียนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา
This qualitative research aims to analyze the process and supportive factors of cultural adaptation of Thai students in the United States of America. Purposive sampling, Ten most viewed video clips exchanging experiences of Thai students in the US, uploaded on YouTube during 2017 – 2023, are analyzed. The research finds four processes of adaptation of the Thai students, including 1) Honeymoon Phase, the students felt excited; enjoyable; pleased; and amazed. 2) Crisis Phase, Thai students were discouraged and nervous. 3) Recovery Phase, the students started to comprehend and adopt the American culture. 4) Adjustment Phase, Thai students felt entertained and able to befriend and develop friendships with the Americans. For supportive factors, including 1) personal background or The personal characteristics, including good habits; positive attitude; being realistic; and language and culture adequacy, effectively decrease cultural shock of the students. and 2) social environment of the host country are related, including the independent culture; the positive first impression toward the society; assistance from groups in communities; the governmental certification; and association with less Thais and more Americans are coordinating factors decreasing the crisis phase