การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาไทย 5 เล่ม ของทีมงาน GUFS โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมในแบบเรียนของ Michael Byram ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยในแบบเรียนภาษาไทยชุด GUFS ครอบคลุมเนื้อหา เชิงวัฒนธรรมตาม 8 รายการของByram’s Checklist ได้แก่ เนื้อหาด้านการขัดเกลาทางสังคม (46.34%) โครงสร้างทางสังคม (10.98%) กลุ่มสังคม (9.76%) การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (8.54%) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์(7.32%) ความเชื่อและพฤติกรรม (6.02%) ภูมิศาสตร์ (6.02%) และสามัญทัศน์ (4.88%) จะน้อยลงตามลำดับ 2) เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนที่ปรากฎในแบบเรียนไม่ครอบคลุมเนื้อหาเชิงวัฒนธรรม ตาม 8 รายการของ Byram’s Checklist ได้พบเพียง 5 ด้าน ได้แก่ เนื้อหาด้านการขัดเกลาทางสังคม โครงสร้างทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ 3) ด้านการ เปรียบเทียบ เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยมีมากกว่าเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนในทุกด้าน ซึ่งสัมพันธ์กับสาเหตุ 2 ประการคือ สาเหตุด้านนโยบายทางการศึกษา และเจตนาของผู้สร้างแบบเรียน
This research aims to analyze cultural contents in five GUFS textbooks of Thai language by evaluation theories of cultural contents in a textbook of Michael Byram. Research findings are: 1) Thai cultural contents in the textbooks studied cover the eight checklists of Byram, including contents of socialization (46.34%); social structures (10.98%); social groups (9.76%); social interactions (8.54%); historical events (7.32%); beliefs and behaviors (6.02%); geography (6.02%); and common views (4.88%). 2) Five areas of Chinese cultural contents are also found, including contents of socialization; social structures; social interactions; historical events; and national geography. 3) The found Thai cultural contents compared to Chinese cultural contents are exceeding; this is relevant to the educational policy and objectives of creators of the textbooks.