DSpace Repository

การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเตตระไฮโดรเคอร์คูมินโดยกระบวนการทางชีวภาพด้วย Pseudomonas sp. HCU2-1 และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหารของสารเมแทบอไลท์

Show simple item record

dc.contributor.author พรทิพย์ เพิ่มพูล
dc.contributor.author สิริพร อนุรักเข
dc.contributor.author ปิยาภรณ์ สุภัคดํารงกุล
dc.contributor.author สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา
dc.contributor.author ชัชวาลย์ ช่างทํา
dc.contributor.author อภิชาต สุขสําราญ
dc.contributor.author Porntip Permpool
dc.contributor.author Siriporn Anurakka
dc.contributor.author Piyaporn Supakdamrongkul
dc.contributor.author Sureeporn Homvisasevongsa
dc.contributor.author Chatchawan Changtam
dc.contributor.author Apichart Suksamrarn
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology en
dc.contributor.other Ramkhamhaeng University. Faculty of Science en
dc.date.accessioned 2024-10-30T13:57:29Z
dc.date.available 2024-10-30T13:57:29Z
dc.date.issued 2014
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3172
dc.description การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2 “การศึกษาคือนวัตกรรมนำพาประเทศชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (The 2nd Academic Science and Technology Conference 2014) (ASTC2014) “Innovative Education Challenges the Nation towards AEC”) วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ : หน้า 281-288 en
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1gtlqFS7K2bX32az27DwI7oWm03WVr1rK/view en
dc.description.abstract สารเตตระไฮโดรเคอร์คูมินเป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันของสารเคอร์คูมิน ซึ่งสารทั้งสองแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นต้น จากงานวิจัยที่ผ่านมากลุ่มของเราได้นําสารเคอร์คูมินมาทําการปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยกระบวนการทางชีวภาพด้วย Pseudomonas sp. HCU2-1 พบว่าได้สารเมแทบอไลท์ที่ไม่เสถียรและมีปริมาณน้อย จึงไม่สามารถหาโครงสร้างได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้นําสารเตตระไฮโดรเคอร์คูมินมาบ่มกับ Pseudomonas sp. HCU2-1 เป็นเวลา 3 วัน พบสารเมแทบอไลท์ 1 ชนิด และนําสารนี้มาวิเคราะห์โดยวิธีทางสเปกโตรสโกปีแล้ว พบว่าเป็นสาร 4-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)butan-2-one ซึ่งเกิดปฏิกิริยาการย่อยสลาย (degradation) ของสารเตตระไฮโดรเคอร์คูมิน หลังจากนั้นได้นําสารเมแทบอไลท์ สารเตตระไฮโดรเคอร์คูมิน และเคอร์คูมินมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร จํานวน 6 สายพันธุ์ คือ Bacillus cereus, Escherichia coli, Salmonella Typhimurium, Shigella sonnei, Staphylococcus aureus และ Vibrio parahaemolyticus โดยใช้วิธี Agar well diffusion assay และใช้ยาแอมพิซิลินเป็นสารมาตรฐาน พบว่าสารเมแทบอไลท์ สารเตตระไฮโดรเคอร์คูมิน และเคอร์คูมินแสดงฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียได้ที่ค่า MIC อยู่ในช่วง 15-30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งสารเมแทบอไลท์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด และยังเป็นสารที่ยับยั้ง V. arahaemolyticus ได้สูงกว่าสารเตตระไฮโดรเคอร์คูมินและสารมาตรฐานถึง 2 เท่า en
dc.description.abstract Tetrahydrocurcumin was obtained from curcumin by catalytic hydrogenation. Both of them showed very interesting and various biological activities, for example anti-cancer activity, anti-oxidant activity and antiinflammatory activity. In our previous report, curcumin was subjected to incubation with Pseudomonas sp. HCU2-1. It was found that curcumin was transformed to a small quantity of unstable metabolite which could not be identified. In this project, tetrahydrocurcumin was therefore used as a starting material and was incubated with Pseudomonas sp. HCU2-1 for three days. Result showed that Pseudomonas sp. HCU2-1 could transform tetrahydrocurcumin to 4-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)butan-2-one by degradation reaction. This metabolite was identified by spectroscopic techniques. The metabolite, tetrahydrocurcumin and curcumin were evaluated for the antimicrobial activities against 6 food-borne pathogenic bacteria, Bacillus cereus, Escherichia coli, Salmonella Typhimurium, Shigella sonnei, Staphylococcus aureus and Vibrio parahaemolyticus by using Agar well diffusion assay. Ampicilin was used as a standard drug in this assay. It was found that the metabolite, tetrahydrocurcumin and curcumin exhibited antibacterial activity, with MIC values of 15-30 g/ml. The metabolite was active against all bacteria. It was highly active compound against V. parahaemolyticus, which was 2-fold more active than tetrahydrocurcumin and the standard drug. en
dc.language.iso th en
dc.rights คณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 2 en
dc.subject ขมิ้นชัน en
dc.subject Curcuma longa L. en
dc.subject เตตระไฮโดรเคอร์คูมิน en
dc.subject Tetrahydrocurcumin en
dc.subject เคอร์คูมิน en
dc.subject Curcumin en
dc.subject เมแทโบไลท์ en
dc.subject Metabolites en
dc.subject สารต้านแบคทีเรีย en
dc.subject Antibacterial agents en
dc.subject สารต้านการติดเชื้อ en
dc.subject Anti-infective agents en
dc.subject ซูโดโมนาส en
dc.subject Pseudomonas sp. en
dc.subject การเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี en
dc.subject Biotransformation (Metabolism) en
dc.title การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเตตระไฮโดรเคอร์คูมินโดยกระบวนการทางชีวภาพด้วย Pseudomonas sp. HCU2-1 และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหารของสารเมแทบอไลท์ en
dc.title.alternative Biotransformation of Tetrahydrocurcumin by Pseudomonas sp. HCU2-1 and Antibacterial Activity of the Metabolite en
dc.type Proceeding Document en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account