การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนกลุ่มชายรักชายในนวนิยายวายของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท โดยศึกษาจากนวนิยายวายจำนวน 7 เล่ม ได้แก่ ราตรีสวัสดิ์รักร้าย ตีแผ่ชีวิตสายซึน เฟื่องนคร ชายใดเล่าจะแซ่บเท่าแฟนเก่าแม่ จีบเยลลี่แถมฟรีคนดื้อ ราตรีสวัสดิ์รักแท้ และ ถ้ารักบังเกิด ก็เปิดใจรัก ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาพสะท้อนความคิดของกลุ่มชายรักชายที่มีต่อกลุ่มของตนเอง ได้แก่ กลุ่มชายรักชายจะมีความรักแท้ได้ยาก คนในกลุ่มไม่จริงจังต่อความรัก ส่วนความคิดต่อสังคมรอบข้างนั้น กลุ่มชายรักชายในสังคมไทยยังไม่ได้รับการปกป้องเท่ากับกลุ่มคนทั่วไป (2) ภาพสะท้อนการแสดงออกของกลุ่มชายรักชาย มีเปิดเผยเพศสภาพตั้งแต่แรก เพราะได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง มีปกปิดเพศสภาพตลอดและไม่ยอมรับเพศสภาพของตนเอง เพื่อการประกอบอาชีพและไม่ให้ครอบครัวผิดหวัง และ (3) ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ของคู่รักชายรักชาย มีความสัมพันธ์ที่ต้องปิดบัง คู่รักชายรักชายยังไม่เป็นความสัมพันธ์ที่มีสิทธิ์เท่ากับความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ถ้าเปิดเผยจะส่งผลต่ออนาคต และมีความสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับ ยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะยิ่งไม่สามารถเปิดเผยเพศสภาพได้ เนื่องจากกลุ่มชายรักชายยังถูกมองเป็นกลุ่มที่ผิดเพศ จะเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับเด็ก ๆ ผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นนวนิยายวายของจิดานันท์ ได้สะท้อนกลุ่มชายรักชายในสังคมปัจจุบันมีความคิดต่อพวกเขาในทางบวกและทางลบ
This research aimed to analyze reflections of the male homosexual in seven Thai Y-novels of Chidanan Luengpiensamut, including Ratri-sawas-ruk-rai; Tee-pare-chiwit-sai-seun; Feung-nakorn; Chai-dai-lao-cha-sap-tao-fan-kao-mae; Jeep-yelly-tam-free-kon-due; Ratri-sawas-ruk-tare; and Ta-ruk-bung-kert-kor-perd-jai-ruk. The research found three main areas of reflections relating to the male homosexual as the following. 1) Self-reflections of the male homosexuals, including rare true loves found in the group; love was not taken seriously; and the group of male homosexuals was not equally regarded in Thai society as general people. 2) Gender identification of male homosexuals, two aspects were practiced including the exposing homosexuals because of gaining supportive surrounding; and the covering and self-rejected homosexuals, subjected to their professions and family expectations. 3) Relationships between the male homosexual lovers, the covering and inferior relationships–compared to of the heterosexuals–were normal. Exposing of the relationships would affect their future and acceptance, especially for the public figures. The homosexual relationships were regarded as abnormal and bad examples for youths. In conclusion, the Y-novels of Chidanan reflected both positive and negative social aspects toward the male homosexual group.