การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจอัตราการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ในลูกชิ้นที่จำหน่ายในตลาดสด 4 แห่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ระหว่างลูกชิ้น 4 ชนิด และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ในลูกชิ้น ระหว่างตลาดสด 4 แห่ง ตัวอย่างเป็นลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นปลา และลูกชิ้นไก่ ที่จำหน่ายในตลาดสด 4 แห่ง ในพื้นที่ 4 ตำบล ของเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 ทำการวิเคราะห์หาสารบอแรกซ์โดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ ที่มีความไวเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการวิเคราะห์ลูกชิ้น จำนวน 256 ตัวอย่าง พบลูกชิ้นปนเปื้อนบอแรกซ์ จำนวน 25 ตัวอย่าง (ร้อยละ 9.77) เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าลูกชิ้นที่จำหน่ายในตลาดสด 3 แห่ง มีการปนเปื้นบอแรกซ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเมื่อทำการเปรียบเทียบชนิดของลูกชิ้น พบว่าลูกชิ้นทั้ง 4 ชนิด มีการปนเปื้อนบอแรกซ์ที่ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสำรวจและควบคุมอย่างจริงจังเกี่ยวกับการเจือปนบอแรกซ์ในอาหาร รวมทั้งควรมีการวิจัยเพื่อหาสารทดแทนบอแรกซ์ที่มีความปลอดภัยต่อการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อสุขภาพ
The objectives of this study were 1) to survey the borax contamination rate in meatballs sold in 4 fresh markets in Muang District, Samut Prakan Province, 2) to compare the differences in borax contamination among 4 types of meatballs, and 3) to compare the differences in borax contamination in meatballs among 4 fresh markets. Examples were pork meatballs, beef meatballs, fish meatballs and chicken meatballs sold in 4 fresh markets in 4 sub-districts of Muang District, Samut Prakan Province during October- November 2020. Determination of borax using a borax test kit with a sensitivity of 100 mg / kg. Analysis of 256 meatball samples
revealed that 25 samples were contaminated with borax (9.77%). Statistical analysis, showed that meatballs sold in 3 fresh markets had a statistically significant difference in borax contamination (P<0.05). When the types of meatballs were compared, it was found that there was no significant difference in borax contamination (P>0.05). The researcher recommends that relevant departments should seriously investigate and control the borax contamination in food. In addition, borax substitutes should be sought to reduce the risk of adverse health effects.