Abstract:
การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ และเพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากร ได้แก่ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ จำนวน 5,621 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamaneyne) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งอาศัยแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นกรอบในการเขียนแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเสนองานวิจัย ซึ่งประกอบด้วยสถิติพื้นฐน ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรสองกลุ่มใช้สถิติ t-test กรณีการทดสอบความแตกต่างของการค่าเฉลี่ยของประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ใช้สถิติ One-Way ANOVA สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-50 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือน 20,001—30,000 บาท โดยเฉลี่ยขับขี่รถแท็กซี่ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อวัน อายุการใช้งานของรถแท็กซี่ 5-10 ปี และหาต้องการเปลี่ยนจากน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้ก๊าซแทนจะเลือใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ผู้ขับขี่รถแท็กซี่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ไม่มากนัก มักจะเติมก๊าซในช่วงเวลา 06.00 น. -12.00 น. เติมก๊าซเฉลี่ยวันละ 1-3 ครั้ง เติมก๊าซเฉลี่ยวันละ 7,000-8,000 บาท และเติมก๊าซที่สถานี ปตท. มากที่สุด เมื่อศึกษาความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นรายด้าน ลำดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.19 ส่วนความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ลำดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 4.25 เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมมติฐานที่ 1 และ 2 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานที่ 1 คือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะทางในการขับขี่รถและอายุของรถที่แตกต่างกัน มีผลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานที่ 2 พบว่า ความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ต่างกันมีผลต่อการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ต่างกัน และสมมติฐานที่ 3 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน คือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกๆ ด้าน โดยส่วนใหญ่ต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) มากกว่าต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV)