Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3247
Title: ศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าชธรรมชาติ (NGV) และก๊าชปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Comparison Study of the Demand for Using the Natural Gas (NGV) and the Liquefied Petroleum Gas (LPG) as the Automobile Fuel for Taxi Drivers in Suwannapoom Airport and the Surround Area in the Samutprakan Province
Authors: รุ่งฤดี รัตนวิไล
Rungrudee Ratanawilai
ธวัลรัตน์ เกษสุริยงค์
Tawanrut Katesuriyong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ก๊าซธรรมชาติ
Natural gas
ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว
Liquefied petroleum gas
คนขับรถแท็กซี่ -- ไทย -- สมุทรปราการ
Taxicab drivers -- Thailand -- Samut Prakarn
รถยนต์ -- การใช้เชื้อเพลิง
Automobiles -- Fuel consumption
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ และเพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากร ได้แก่ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ จำนวน 5,621 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamaneyne) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งอาศัยแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นกรอบในการเขียนแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเสนองานวิจัย ซึ่งประกอบด้วยสถิติพื้นฐน ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรสองกลุ่มใช้สถิติ t-test กรณีการทดสอบความแตกต่างของการค่าเฉลี่ยของประชากรตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ใช้สถิติ One-Way ANOVA สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลงสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-50 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือน 20,001—30,000 บาท โดยเฉลี่ยขับขี่รถแท็กซี่ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อวัน อายุการใช้งานของรถแท็กซี่ 5-10 ปี และหาต้องการเปลี่ยนจากน้ำมันเชื้อเพลิงมาใช้ก๊าซแทนจะเลือใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ผู้ขับขี่รถแท็กซี่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ไม่มากนัก มักจะเติมก๊าซในช่วงเวลา 06.00 น. -12.00 น. เติมก๊าซเฉลี่ยวันละ 1-3 ครั้ง เติมก๊าซเฉลี่ยวันละ 7,000-8,000 บาท และเติมก๊าซที่สถานี ปตท. มากที่สุด เมื่อศึกษาความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นรายด้าน ลำดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.19 ส่วนความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ลำดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ย 4.25 เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมมติฐานที่ 1 และ 2 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานที่ 1 คือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะทางในการขับขี่รถและอายุของรถที่แตกต่างกัน มีผลต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานที่ 2 พบว่า ความต้องการปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ต่างกันมีผลต่อการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ต่างกัน และสมมติฐานที่ 3 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน คือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ มีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกๆ ด้าน โดยส่วนใหญ่ต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) มากกว่าต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV)
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3247
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Comparation-Study-of-the-Demand-for-Using.pdf
  Restricted Access
20.42 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.