Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่มีคำถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Questions) และชนิดปลายปิด (Close-ended Questions) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัย เพื่อการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรเป้าหมายสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสำรวจครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2545 เป็นเวลา 5 ปี สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Anova หรือ F-Test) การศึกษาเรื่องพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1. ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยของกลุ่มเป้าหมาย 2. ศึกษาความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศไทยของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวโดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศต่อครั้งเฉลี่ย 3-4 วัน และมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อพักผ่อนและเยี่ยมครอบครัวและญาติ โดยที่กลุ่มตัวอย่างเลือกช่วงวันหยุดราชการหรือวันหยุดงานในการเดินทางท่องเที่ยว และเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศช่วงฤดูหนาว โดยกลุ่มตัวอย่างจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ และจะเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติทะเล/ภูเขา/น้ำตก โดยมีกิจกรรมที่ทำระหว่างท่องเที่ยวได้แก่ เที่ยวถ้ำ / น้ำตก ซื้อของและตั้งแคมป์เป็นส่วนใหญ่ บุคคลที่ร่วมเดินทางด้วยโดยส่วนใหญ่ คือ เพื่อน / ญาติ บุคคลที่ตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวในประเทศสำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ เพื่อนและญาติ ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว พักแรมที่โรงแรม เป็นส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของกลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เฉลี่ย 2,000-5,000 บาทต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่าง ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านการบอกเล่าของเพื่อนและญาติเป็นส่วนมาก และกลุ่มตัวอย่างมีแผนการท่องเที่ยวเดินทางในประเทศสำหรับปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 71.5% สาเหตุจูงใจที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแผนการท่องเที่ยวเดินทางในประเทศสำหรับปี 2547 คือ เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจในจำนวนแห่งท่องเที่ยว คุณภาพอากาศในแหล่งท่องเที่ยว และป้ายบอกทิศทาง และการจราจรในแหล่งท่องเที่ยวในระดับมาก ความเพียงพอของที่จอดรถในแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพของถนนที่เข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว พาหนะที่ใช้เดินทางในการท่องเที่ยวมีความปลอดภัยต่อชีวติและทรัพย์สิน ความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยว จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในแหล่งท่องเท่ยวมีเพียงพอเหมาาะสม ราคาของสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวนร้านจำหน่ายสินค้าและบริการ ผู้ขายสินค้าและบริการมีความซื่อสัตย์ มีอัธยาศ้ยที่ดีและมีความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว ราคาของสถานที่พักเมื่อเทียบกับคุณภาพ สถานที่พักมีความสะอาดและน่าเข้าพักอาศัย บุคลากรในสถานที่พักมีคุณภาพเหมาะสมที่จะให้บริการ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขณะเดินทางท่องเที่ยว กรณีประสบปัญหาการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อำนวยความสะดวกรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสมและมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจปานกลาง ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้ ภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่กำหนดนโยบาย ประสานงานและดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความร่วมมือที่ผ่านมาเป็นลักษณะครั้งคราว เมื่อมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น การไปทำการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) ร่วมประชุมแก้ปัญหาเมื่อมีวิกฤติการณ์ หรือเป็นลักษณะเอกชนรับบริการ เช่น การซื้อพื้นที่ (Booth) ร่วมงาน International Touriamus-Borse (ITB), World Travel Mart (WTM) เป็นต้น ความร่วมมือเป็นในลักษณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดนโยบายขอความร่วมมือภาคเอกชน จะรับนโยบายหรือการสนองนโยบายในเรื่องที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจยังไม่เป็นไปในลักษณะของการกำหนดนโยบายทิศทาง และการร่วมทำร่วมแก้ไขก้นอย่างแท้จริง