DSpace Repository

การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรสิทธิ์ จักษ์เมธา
dc.contributor.advisor Worasith Jackmetha
dc.contributor.author นวลวรรณ วิภาตทัต
dc.contributor.author Nualwan Wipattouch
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-12-01T06:31:26Z
dc.date.available 2024-12-01T06:31:26Z
dc.date.issued 2004
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3319
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547. en
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่มีคำถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Questions) และชนิดปลายปิด (Close-ended Questions) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัย เพื่อการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรเป้าหมายสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสำรวจครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2545 เป็นเวลา 5 ปี สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-Square และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Anova หรือ F-Test) การศึกษาเรื่องพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1. ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยของกลุ่มเป้าหมาย 2. ศึกษาความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศไทยของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวโดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศต่อครั้งเฉลี่ย 3-4 วัน และมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อพักผ่อนและเยี่ยมครอบครัวและญาติ โดยที่กลุ่มตัวอย่างเลือกช่วงวันหยุดราชการหรือวันหยุดงานในการเดินทางท่องเที่ยว และเลือกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศช่วงฤดูหนาว โดยกลุ่มตัวอย่างจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ และจะเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติทะเล/ภูเขา/น้ำตก โดยมีกิจกรรมที่ทำระหว่างท่องเที่ยวได้แก่ เที่ยวถ้ำ / น้ำตก ซื้อของและตั้งแคมป์เป็นส่วนใหญ่ บุคคลที่ร่วมเดินทางด้วยโดยส่วนใหญ่ คือ เพื่อน / ญาติ บุคคลที่ตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวในประเทศสำหรับกลุ่มตัวอย่าง คือ เพื่อนและญาติ ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว พักแรมที่โรงแรม เป็นส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของกลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เฉลี่ย 2,000-5,000 บาทต่อครั้ง กลุ่มตัวอย่าง ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านการบอกเล่าของเพื่อนและญาติเป็นส่วนมาก และกลุ่มตัวอย่างมีแผนการท่องเที่ยวเดินทางในประเทศสำหรับปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 71.5% สาเหตุจูงใจที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแผนการท่องเที่ยวเดินทางในประเทศสำหรับปี 2547 คือ เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการท่องเที่ยวต่างประเทศเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจในจำนวนแห่งท่องเที่ยว คุณภาพอากาศในแหล่งท่องเที่ยว และป้ายบอกทิศทาง และการจราจรในแหล่งท่องเที่ยวในระดับมาก ความเพียงพอของที่จอดรถในแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพของถนนที่เข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว พาหนะที่ใช้เดินทางในการท่องเที่ยวมีความปลอดภัยต่อชีวติและทรัพย์สิน ความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยว จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในแหล่งท่องเท่ยวมีเพียงพอเหมาาะสม ราคาของสินค้าและบริการในแหล่งท่องเที่ยว จำนวนร้านจำหน่ายสินค้าและบริการ ผู้ขายสินค้าและบริการมีความซื่อสัตย์ มีอัธยาศ้ยที่ดีและมีความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว ราคาของสถานที่พักเมื่อเทียบกับคุณภาพ สถานที่พักมีความสะอาดและน่าเข้าพักอาศัย บุคลากรในสถานที่พักมีคุณภาพเหมาะสมที่จะให้บริการ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขณะเดินทางท่องเที่ยว กรณีประสบปัญหาการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อำนวยความสะดวกรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสมและมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจปานกลาง ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้ ภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่กำหนดนโยบาย ประสานงานและดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความร่วมมือที่ผ่านมาเป็นลักษณะครั้งคราว เมื่อมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น การไปทำการส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) ร่วมประชุมแก้ปัญหาเมื่อมีวิกฤติการณ์ หรือเป็นลักษณะเอกชนรับบริการ เช่น การซื้อพื้นที่ (Booth) ร่วมงาน International Touriamus-Borse (ITB), World Travel Mart (WTM) เป็นต้น ความร่วมมือเป็นในลักษณะที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำหนดนโยบายขอความร่วมมือภาคเอกชน จะรับนโยบายหรือการสนองนโยบายในเรื่องที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจยังไม่เป็นไปในลักษณะของการกำหนดนโยบายทิศทาง และการร่วมทำร่วมแก้ไขก้นอย่างแท้จริง en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การท่องเที่ยว -- ไทย en
dc.subject Travel -- Thailand en
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค en
dc.subject Consumer behavior en
dc.subject ความพอใจ en
dc.subject Satisfaction en
dc.title การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจในด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative A Study of Domestic Tourism Behavior and Their Satisfactions of People in Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account