งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ของร้านขายยาในประเทศไทย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางออนไลน์ สุ่มตัวอย่างตามสะดวก ระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มีผู้ตอบกลับจำนวน 311 คน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยบะ 66.2 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.7 เป็นเภสัชกร ร้อยละ 33.8 เป็นเจ้าของร้านขายยา ร้อยละ 64.7 มีอายุในช่วง 29-50 ปี ร้อยละ 71.7 จบปริญญาตรี และร้อยละ 52.7 มีประสบการณ์ในช่วง 1-10 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.3 เป็นร้านขายปลีก และเป็นร้านยาคุณภาพ ร้อยละ 32.8 และร้อยละ 56.9 มียอดขายเฉลี่ย/วันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 63.3) โดยผ่าน Line (ร้อยละ 87.3) Facebook (ร้อยละ 71.1) เพื่อประชาสัมพันธ์ร้าน (ร้อยละ 99.2) เพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ (ร้อยละ 89.6) เพื่อให้บริการด้านสุขภาพและส่งเสริมธุรกิจ (ร้อยละ 45.1) และประเภทสินค้าที่ขาย คือ ยาสามัญประจำบ้านและอาหารเสริม (ร้อยละ 80.5)
ผลการวิเคราะห์ Chi-square พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ (p-value = 0.037) อายุ (p-value = 0.016) ประสบการณ์การทำงาน (p-value = 0.007) การเป็นร้านยาคุณภาพ (p-value < 0.001) และยอดขายเฉลี่ย (p-value < 0.001)
สรุป ร้านขายยาประมาณ 2 ใน 3 มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้บริการด้านสุขภาพและส่งเสริมธุรกิจ
The objective of this study is to explore the use of online media by community pharmacies in Thailand. During January to February 2024, the data were collected through an online questionnaire and sampled at their convenience. There were 311 respondents.
We found that 66.2% of the samples were women. 61.7% were pharmacist on duty and owners. 64.7% were between 29-50 years. 71.7% were a bachelor’s degree and 52.7% had 1-10 years working experience. 92.3% were retailers store and 32.8% were accredited pharmacies. 56.9% were average sale/day less than 10,000 bahts. Most samples use social media (63.3%) via Line (87.3%), Facebook (71.1%). The activities of using social media in pharmacies are used for promote the pharmacy