งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนระบบปฏิบัติการของสมาร์ตโฟน์สาหรับรายวิชาโลหิตวิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยแอปพลิเคชันนี้สร้างขึ้นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อนำโทรศัพท์มาใช้ในการศึกษา ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 และมีความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ เมื่อระบบได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงทำการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน30 คน เป็นแผนการทดสอบก่อนและหลังการทดสอบแบบกลุ่มเดียว ได้ค่าประสิทธิภาพE1/E2 เท่ากับ 75.53/71.80 (ระดับ 1) และ 73.33/70.47 (ระดับ 2) ตามลำดับ เมื่อประเมินเจตคติและความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยแบบสอบถามจากมาตรการประมาณค่า 5 ระดับ พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก (4.20) ส่วนผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ Paired t-test พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อหาพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนคณะผู้วิจัยจึงนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้ไปให้นักศึกษาฝึกทักษะในกลุ่มใหญ่จำนวน 100 คน แล้วหาค่าดัชนีประสิทธิผล เมื่อวัดเป็นรายกลุ่มได้ค่าดัชนีเท่ากับ 0.65 เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางการศึกษาการนำเอาเทคโนโลยีไอซีทีมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงโดยประยุกต์ใช้ร่วมกับสมาร์ตโฟนนับว่าเป็นเครื่องมือที่เอื้อประโยชน์ต่อนักเรียนผู้ที่มีอุปสรรคด้านการเรียนรู้หรือขาดทักษะการรายงานรูปร่างลักษณะเซลล์ตลอดจนการจัดระดับความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
This study aims to develop an instructional package, analyzethe effectiveness and satisfaction of medical technology students in usinginstructional media on smartphone operating system in hematology course;a required course for a Bachelor of Science (Medical Technology) degree at Huachiew Chalermprakiet University. The application software was designed for mobile learning on Android operating device. The results of the overall performanceas evaluated by five experts. The content validity has an index of item objective congruence (IOC) index by more than 0.5 and the test has an objectivity. After the system was revised, a pilot study was carried out on 30 third year medical technology students by using the one group pretest-posttest design. The efficiencyof the system (E1/E2) was 75.53/71.80 (level 1) and 73.33/70.47 (level 2), respectively. The paired t-test was used to compute the effectiveness of learning process. It was found that the mean score of post-test was significantly higher than the pre-test at the significance level 0.05. In order to measure the learning progress of the students, we tried out the electronic media study on a large group of students (n = 100). When determined as a group, the effectiveness index (E.I.) was 0.65. The attitudes and satisfactions of the students were assessed by using a from 5 scales. It was found that the mean of satisfaction score was at the high level (4.20). Therefore, to promote educational activities, combining ICT with E-learning using the smartphone is a helpful tool for students who have difficulties learning or lacking the skill in reporting red blood cell morphology and abnormalitiesof red cell grading.