บทความนี้ มุ่งเสนอเรื่องเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตําาบลสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบ ทักษะพื้นฐาน เจตคติ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการรับรู้ของประชาชน โดยได้สําารวจความคิดเห็นจากผู้บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและพนักงานขององค์การบริหารส่วนตําาบลในจังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 409 คน พบว่าตัวแปรคุณลักษณะผู้ปฏิบัติงาน มีอิทธิพลทั้งทางตรงในทางลบและทางอ้อมในทางบวกต่อการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตําาบลผ่านตัวแปรบทบาทขององค์การบริหารส่วนตําาบล ประกอบกับตัวแปรบทบาทขององค์การบริหารส่วนตําาบลมีอิทธิพลทางตรงต่อการเตรียมความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตําาบลเช่นกัน เมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ เช่น บทบาทของ อบต. มีจําานวน 3 ตัวแปรย่อย โดยบทบาทด้านเศรษฐกิจมีค่ามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความมั่นคงและสงบเรียบร้อย สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบการเตรียมความพร้อม มี 3 ตัวแปรย่อยเหมือนกัน แต่ตัวแปรด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมีค่ามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความมั่นคงและสงบเรียบร้อย และด้านเศรษฐกิจมีค่าน้อยที่สุด
This article is aims to present the workforce characteristics affecting the roles and preparation of Subdistrict Administration Organization in the move towards AEC. The SAO roles and preparation involve ASEAN knowledge, self-learning and development skill, civilian and social responsibility related skill, basic skills, attitude, public participation and people’s awareness. The survey is conducted in Samutprakarn Province with 409 people, including SAO executive officers, legislative officers, and staff. The result suggests that the factor of officer qualifications has both negative direct and positive indirect effects through the SAO roles on preparation for AEC; the factor of SAO roles directly affects their preparation for AEC. Regarding the three subfactors of SAO roles, the most dominant one is the economic aspect, followed by the security aspect, and the aspect of society, culture, and environment, respectively. As for the three subfactors of SAO preparation, the highest value is perceived on the aspect of society, culture, and environment, followed by the security aspect and the economic aspect, respectively.