การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและศักยภาพกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ 2) จัดทําแผนธุรกิจส่งเสริมการตลาดของปลาสลิดบางบ่อ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) จากปลาสลิดไม่ได้มาตรฐานให้กลายเป็นสินค้าใหม่ให้มีมูลค่าเพิ่มตามความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจาก กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด ตําบลคลองด่าน อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการการจําแนกและจัดระบบข้อมูล เพื่อค้นหาศักยภาพกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด การวิเคราะห์สรุปอุปนัย และการวิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด ก่อนเข้าโครงการและหลังเข้าโครงการ เพื่อถอดบทเรียนสิ่งที่ค้นพบเพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพในด้านการผลิตปลาสลิดหอมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีแหล่งปลาสลิดบางบ่อที่มีอัตลักษณ์และมีชื่อเสียงมายาวนานแต่ขาดความเข้าใจด้านการตลาด ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการของเหลือจากการแปรรูป และ ช่องทางจัดจําหน่าย ความรู้ในการทําแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อน/หลังการอบรมของกลุ่มเป้าหมายในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม 2.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.08 และคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม 3.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.22 เมื่อใช้สถิติทดสอบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) พบว่า ความรู้ในการทําแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้าหมายก่อน/หลังการอบรม ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับที่ 0.05 โดยพบว่า หลังการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยของความรู้ในการทําแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น ทําให้ได้แผนธุรกิจและผลิตภัณฑ์ต้นแบบทองม้วนก้างปลาสลิดไฮแคลเซียม ของดีบางบ่อ ที่มาจากการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือในกระบวนการผลิต
This study is the combination of participative research and action research. The analysis is by classifying data and sourcing out the potential group members of the farmers and the processors of snake-skined gourami. The induction analysis and the comparative analysis are used with the target group before and after joining the project to draw the conclusion from the lesson learned, the body of knowledge for the product developing process. The research finding is that the target group has the potentials in processing the scented snake-skined gourami from the local wisdom and it has its own identity with long-time well known as Bang Bo snake-skined gourami. However, they are lack of understanding in marketing, product development, waste management from scraps of the products, and the channel of distribution. The knowledge of the target group before and after the business plan training program are scoring: 2.80 and 3.44 respectively. The T-test dependent finding the knowledge of the target group for the training is significantly different by 0.05 it came up with the business plan of developing the prototype for Tong-muan products with snake-skined gourami bones scraps, the high calcium value-added, the value –added product from the scraps of the product process.