งานวิจัยนี้ได้ศึกษาข้อมูลอาหารพื้นถิ่นและผู้ประกอบการอาหารในบางเสาธง ได้พัฒนาอาหาร 5 ชนิดได้แก่ ขนมสายบัว ขนมเปียกปูนไส้กะทิลาวา ปลานิลแดดเดียว ข้าวเกรียบปลานิล และน้ำพริกปลาร้าสามรสโดยขนมสายบัว ได้มีการปรับรูปลักษณ์ในพิมพ์ดอกบัว ทำให้ขนม มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ชัดเจนสื่อถึงขนมสายบัวและมีความผูกพันกับพื้นถิ่น การปรับสูตรขนม ให้ขนมสายบัวมีความอ่อนนุ่ม คนรุ่นหลังชอบนิยมบริโภคมากขึ้น การพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์ “DIY ขนมสายบัว คุณเองก็ทำได้” จากการนำสายบัวแดงอบแห้ง และทดลองการคืนรูปของสายบัวแดง ซึ่งทำขนมสายบัวได้เช่นเดียวกับสายบัวสด โดยมีวิธีการทำขนมที่ระบุไว้และในคลิปวิดีทัศน์ที่แสดง QR code ได้ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ปรับบรรจุภัณฑ์ ให้มีความสวยงามน่ารับประทาน และกล่องขนมที่มีการบอกเล่าเรื่องราวลงในฉลากติดที่กล่อง ส่วนขนมเปียกปูนไส้กะทิลาวา มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับศิลปะในการประกอบอาหาร ได้ขนมเปียกปูนในรูปลักษณ์ใหม่ และถูกใจของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์จากปลานิลมีปลานิลแดดเดียว และข้าวเกรียบปลานิลในบรรจุภัณฑ์ที่มีโลโก้เป็นอาหารพื้นถิ่นของบางเสาธง สำหรับน้ำพริกปลาร้าสามรส ได้พัฒนาปรับบรรจุภัณฑ์ ขนาดบรรจุและฉลากที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหารจากบางเสาธง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรรูปอาหาร การคืนความรู้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น ได้รักษ์อาหารพื้นถิ่นด้วยแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้เรื่องราวอาหารพื้นถิ่น และการสร้างช่องทางการตลาดและรูปแบบการจัดการเครือข่ายให้กับผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการอาหารที่จำหน่ายอาหารพื้นถิ่นที่พัฒนานั้น มีผลตอบแทนเศรษฐกิจ (ROI) ที่สูงขึ้น รวมทั้งการได้แบ่งปัน บอกเล่าที่มาอาหารพื้นถิ่น ใช้วัตถุดิบที่ดีและปลอดภัย ทำให้สร้างการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในพื้นถิ่นได้ “สุขใจที่ได้ชิม สุขใจที่ได้แบ่งปัน”
This research studied local food and food entrepreneurs in Bang Sao Thong which ledto a development of 5 types of food: Sai Bua dessert, Rhombic Coconut Milk Lava, Sun-driedtilapia , tilapia crackers, and fermented fish chili paste. Sai Bua dessert has been modified inthe lotus print which enhances a beautiful appearance and clearly represents Sai Bua dessert.Sai Bua in Bang Sao Thong District have ties to the local area. The recipe adjustments gavethe dessert a softness which attracts current generations. Development of a product set“DIY Sai Bua, You can do it too” a dried red lotus stems can be used to make Sai Bua dessertas good as fresh one. The recipe method comes as a video clip showing the QR code whichcan be further developed into products, packaging can be adjusted in to a beautiful box anda label that tells a story. Rhombic Coconut Milk Lava, a combination of science with the artof cooking, giving it a new look and favor. Sun-dried tilapia and tilapia crackers in packagingwith symbols/logos indicates an origin of Bang Sao Thong. Fermented fish chili paste adjustedpackaging, package sizes, and labels indicate the origin of food products from Bang Sao Thongin order to create awareness of local stories and expanding channels to reach more customers.Development of local food entrepreneurs was done by group activities through the processof exchanging knowledge, food processing workshop, returning knowledge from productdevelopment to entrepreneurs and people in the community. Strengthening local foodentrepreneurs, local food development and enable the people of Bang Sao Thong District to conserve local food with the creative economy approach communicates via public relations,creates awareness of local food stories, marketing channels, and network managementfor local food products which then increases the ROI. Sharing and storytelling about the originof local food, safe raw materials create awareness of various stories in the local area“Pleasant to taste, Happy to share.”