การวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี" เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านทัศนคติ ด้านการคล้อยตามกลุ่ม และด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเองกับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านทัศนคติ ด้านการคล้อยตามกลุ่ม และด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเองกับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประจำปีการศึกษา 2558 จาก 13 คน จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling)ผลการวิจัยมีดังนี้จากผลการวิจัยพบประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยได้นำมาอภิปรายเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ ดังนี้1) ข้อมูลระดับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านความรับผิดชอบ พบว่าพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี ด้านความรับผิดชอบ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมาก ด้านจริยธรรม พบว่า พฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรีด้านจริยธรรม โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ซึ่งอยูี่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมาก และด้านการประเมินค่าสารสนเทศที่ได้รับ พบว่า พฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี ด้านการประเมินค่าสารสนเทศที่ได้รับ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมาก2) ข้อมูลระดับปัจจัยด้านทัศนคติ ด้านการคล้อยตามกลุ่ม และด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเอง โดยการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมาก ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมากและปัจจัยด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเองในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าสถิติระดับมาก3) ปัจจัยด้านทัศนคติการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=.474) ด้านจริยธรรมมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=.688) และด้านการประเมินค่าสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=.625) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน คือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมใดๆ จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีความเชื่อเกี่่ยวกับพฤติกรรมนั้น คือ ถ้าบุคคลมีความเชื่อว่า ถ้าทำพฤติกรรมนั้นแล้วจะได้รับผลบวกก็มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติที่ดีตต่อพฤติกรรมนั้น และเมื่อมีทัศนคติทางบวกแล้วก็ย่อมจะเกิดเจตนาหรือตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมนั้น4) ปัจจัยด้าานการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.656) ด้านจริยธรรมมีความสัมพันธ์ก้นในระดับสูง (r=.768) และด้านการประเมินค่าสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r=.730) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน คือ ถ้าบุคคลได้เห็นหรือรับรู้ว่าบุคคลที่มีความสำคัญต่อตัวเขาได้กระทำพฤติกรรมใดๆ ก็มีแนวโน้มที่ทำตามด้วย5) ปัจจัยด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านควมรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r=.823) ด้านจริยธรรมมีความสัมพันธ์ก้นในระดับสูง (r=.781) และด้านการประเมินค่าสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=.666) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน คือ การที่บุคคลจะตัดสินใจกระทำพฤติกรรมใดต้องเชื่อว่าตนเองมีความสามารถที่่จะควบคุมพฤติกรรมนั้นได้และมีโอกาสประสบผลสำเร็จในการทำพฤติกรรม
The objectives of this quantitative research, Factors Related to Behavioral Use of Electronic Mail in a Creative Way by Undergraduate Students, are to study 1) undergraduate students' behaviors concerning creative use of e-mails, 2) the factors related to those behaviors, and 3) the relationships between the factors and the behaviors. With quota sampling, the research's sample consists of 400 undergraduate students from 12 faculties of Huachiew Chalermprakiet University, Academic Year 2015.The notable research results, which could be utilized further to promote behaviors involving creative use of emails, are the followings.1) Regrarding the data of undergraduate students' behaviors concerning creative use of e-mails, the average scores for the aspects of Responsibility, Morality, and IT Evaluation are 4.02, 4.13, and 4.08, respectively, which are all in the statistical criteria of high level. 2) As for the factors of attitude toward e-mail use, subjective norm, and behavioral control related to the student behaviors concerning creative use of e-mails, the avergae scores are 4.02, 3.89, and 4.14, respectively, which are all in the statistical criteria of high level. 3) The factor of attitudde toward e-mail use is positively related to behaviors concerning creative use of e-mails, at a significance level of 0.01. This factor shows positive moderate relationship with the aspects of Responsibility, Morality, and IT Evaluation, with coefficient of correlation (r)equals 0.474, 0.699, and 0.625, respectively. It is consistent with the theory of planned behavior (TPB), which suggests that the attitude toward the behavior can occur only if the person holds a belief in that behavior; i.e., if someone believes a behavior leads to a positive result, they tend to have good attitude toward that behavior, and then they, in turn, have intention or willing to show that behavior. 4) The factor of subjective norm is positively related to behaviors concerning creative use of e-mails, at a significance level of 0.01. It shows strong relationship with the aspects of Morality and IT Evaluation (r=0.768 and 0.730, respectively), and a moderate relationship with the aspect of Responsibility (r=0.656). It is consistent with TPB; i.e. if someond perceivers their important persons' behavior, they tend to develop that behavior. 5) The factor of behavioral control is positively related to behaviors concerning creative use of e-mails, at a significance level of 0.01. It shows strong relationships with the aspects of Responsibility and Morality (r=0.823 and 0.781, respectively), and a moderate relationship with the aspect of IT Evaluation (r=0.666). This is consistent with TPB; i.e., someone will decide to behave in a particular way, they have to believe that they are capable of controlling that behavios and that it is possible to complete the behavior.