dc.contributor.advisor |
สุชาติ สังข์เกษม |
|
dc.contributor.advisor |
Suchart Sangkasem |
|
dc.contributor.author |
ประภาศรี ภู่จินดาตระกูล |
|
dc.contributor.author |
Prapasri Poojindatrakul |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2025-02-11T16:29:41Z |
|
dc.date.available |
2025-02-11T16:29:41Z |
|
dc.date.issued |
2000 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3662 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543 |
en |
dc.description.abstract |
การค้าระหว่างประเทศถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน กล่าวคือ ถ้ามีการส่งออกสูง ย่อมหมายถึง การได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ แต่ถ้าไม่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ก็จะไม่สามารถทำให้ประเทศนั้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่อ่งจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเหตุผลการเกิดขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ชี้ให้เห็นว่า เหตุใดจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน และเมื่อซื้อขายกันแล้วราคาและปริมาณควรจะเป็นเท่าใด คือ 1. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเด็ดขาด (Absolute Advantage) มี แนวคิดที่ว่าต่างฝ่ายต่างได้เปรียบในการผลิตสินค้าคนละชนิดกัน แล้วนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน2. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีแนวคิดที่สำคัญในด้านโครงสร้างต้นทุนสินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้ราคาสินค้าแตกต่างกันโดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนที่ต่ำสุดแล้วจึงส่งออก3. ทฤษฎีต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) มีแนวคิดในเรื่องของราคาสัมพัทธ์ คือ การย้ายปัจจัยการผลิตที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าต่างกันทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาสเพิ่มขึ้น 4. ทฤษฎีวัฏจักรสินค้า (The Product Life Cycle) ทฤษฎีนี้ไม่ได้นำปัจจัยการผลิตมาพิจารณา แต่ใช้วิทยาการใหม่ เป็นตัวกำหนดทิศทางการค้า ประเทศใดที่มีการคิดค้นพบสินค้าตัวใหม่ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ส่งออกก่อนประเทศอื่น 5. แนวคิดเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน โดยอาศัยอำนาจซื้อเปรียบเทียบ (Purchasing Power Parity) จะเป็นตัวแสดงถึงอำนาจในการแข่งขันของการส่งออกได้อย่างหนึ่ง เช่น ถ้าอำนาจซื้อของเงินสกุลแรกลดลง เมื่อเทียบกับอำนาจซื้อของอีกประเทศหนึ่ง การลดลงของอำนาจซื้อดังกล่าว จะเป็นผลสะท้อนให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลนั้นเปลี่ยนไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ผู้ประกอบการต้องมีแนวคิดในเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น ความที่เกิดจากบัญชี ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยการผลิต ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในการประกอบธุรกิจส่งออก-นำเข้า จะมีธุรกรรมที่สำคัญ คือ 1. การเสนอขายและรับคำสั่งซื้อ 2. การเตรียมสินค้าและเอกสารต่างๆ 3. สิ่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง 4. การประกันภัยและเงื่อนไขการซื้อขาย 5. การผ่านพิธีศุลกากร ปัจจุบันใช้ระบบ EDI6. การชำระเงินค่าสินค้าในด้านการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ นั้น สามารถทำได้หลายวิธี คือ ชำระโดย Open account, Advance payment, Bill for collection, Letter of credit ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบธุรกิจจะใช้ Letter of credit ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ในการค้าของทั้งสองฝ่ายแล้ว ชนิดของ Letter of credit ที่ต่างกัน จะนำมาซึ่งการหาแหล่งเงินทุนที่ต่างกันกล่าวโดยสรุป คือ ในการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้เครื่องมือการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ ประเภท Letter of credit นอกจากจะทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้รับประโยชน์ โดยเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และได้รับความเชื่อถือ แล้วยังสามารถนำ Letter of credit มาขอสินเชื่อกับทางธนาคารเพื่อใช้เป็นเงิน หมุนเวียนในการขยายธุรกิจได้อีกต่อไป |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
ดุลการชำระเงิน |
en |
dc.subject |
Balance of payments |
en |
dc.subject |
การค้าระหว่างประเทศ |
en |
dc.subject |
International trade |
en |
dc.subject |
การชำระเงิน |
en |
dc.subject |
Payment |
en |
dc.subject |
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า |
en |
dc.subject |
Swaps (Finance) |
en |
dc.subject |
อัตราแลกเปลี่ยน |
en |
dc.subject |
Foreign exchange rates |
en |
dc.subject |
เลตเตอร์ออฟเครดิต |
en |
dc.subject |
Letters of credit |
en |
dc.subject |
สินค้าออก |
en |
dc.subject |
Exports |
en |
dc.subject |
สินค้าเข้า |
en |
dc.subject |
Imports |
en |
dc.title |
ศึกษาวิธีปฏิบัติด้านการชำระเงินระหว่างประเทศในฐานะผู้นำเข้าและผู้ส่งออก |
en |
dc.title.alternative |
The Study of International Payment Procedure for the Exporter and Importer |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ |
en |