DSpace Repository

ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติและกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรกรณีศึกษา บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิดารัตน์ โชคสุชาติ
dc.contributor.advisor Tidarat Choksuchart
dc.contributor.author ปราณี อิ่มเพิ่มสุข
dc.contributor.author Pranee Impermsuk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-03-16T08:44:28Z
dc.date.available 2025-03-16T08:44:28Z
dc.date.issued 2011
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3720
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติและกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากร กรณีศึกษา บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยจำแนกตามลักษณะทางปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่งงาน อายุงาน แผนก/สายการปฏิบัติงาน ที่จะส่งผลต่อทัศนคติของบุคลากรในการพัฒนาและฝึกอบรมและกลยุทธ์ในด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านกิจกรรมการฝึกอบรม และด้านวัฒนธรรมองค์กรการฝึกอบรม ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรจำนวน 91 ชุด สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยสถิติพรรณนาแสดงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอนุมาน คือ Independent t-test และ One-Way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีสถานะในการทำงานเป็นพนักงานปฏิบัติการ อายุงานระหว่าง 3-5 ปี กลุ่มประชากรแผนกผลิตมีจำนวนมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์จากระดับความคิดเห็นพบว่า การฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้อยูในระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด และการฝึกอบรมไม่มีประโยชน์ ควรจะเลิกจัดการฝึกอบรมได้แล้ว อยู่ในระดับความคิดเห็นไม่เห็นด้วยมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ ส่งผลต่อทัศนคติด้านบวกในการพัฒนาและฝึกอบรมโดยเฉลี่ยต่างแตกกันมากที่สุด ในเรื่องผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้ในการทำงานและการฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ส่วนทัศนคติด้านลบ เพศส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม โดยเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุดในเรื่องการฝึกอบรมเป็นการพักผ่อน และการเข้ารับการฝึกอบรมเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งทางด้านกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาและฝึกอบรม ในกลยุทธ์ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อายุงาน และแผนกงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม กลยุทธ์ด้านกิจกรรมการฝึกอบรม เพศ และตำแหน่งงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม กลยุทธ์ด้านวัฒนธรรมองค์กร อายุ ตำแหน่งงาน และแผนกงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม โดยเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด – พนักงาน en
dc.subject Sato Auto-ID (Thailand) Co., Ltd. -- Employees en
dc.subject การพัฒนาบุคลากร en
dc.subject การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ en
dc.subject Human resources development en
dc.subject การฝึกอบรม en
dc.subject Training en
dc.subject ลูกจ้าง – ทัศนคติ en
dc.subject Employees – Attitudes en
dc.title ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติและกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรกรณีศึกษา บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด en
dc.title.alternative The Demographic Factors Affecting Attitudes and Strategy of Employees Development and Training : A Case Study of Sato Auto-ID (Thailand) Co., Ltd. en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account