DSpace Repository

การศึกษาทัศนคติของพนักงานระดับบริหารที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพระดับ Six Sigma : กรณีศึกษา บริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

Show simple item record

dc.contributor.advisor เจริญรัตน์ เบญจรัตนาภรณ์
dc.contributor.advisor Charoenratt Benjarattanaporn
dc.contributor.author ไพบูรณ์ จันทดิษฐ์
dc.contributor.author Phaiboon Chanthadit
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-04-13T05:03:34Z
dc.date.available 2025-04-13T05:03:34Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3787
dc.description การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549. en
dc.description.abstract การวิจัยมุ่งเน้นศึกษาเรื่อง “การศึกษาทัศนคติของพนักงานระดับบริหารที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพระดับ Six Sigma กรณีศึกษา : บริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาททัศนคต ความรู้ ความเข้าใจของพนักงานที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพระดับ Six Sigma รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการที่จะนำระบบฯ มาปฏิบัติจริงในองค์กรในอนาคต ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาจากผู้บริหารของบริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 350 ท่าน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนจำนวน 309 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.36 ของจำนวนแบบสอบถามที่แจกทั้งหมด ประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistical Package for the Social Sciences : SPSS) เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ (x2) ได้ผลวิจัยดังนี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นชายมีอายุระหว่าง 26-35 ปี ส่วนใหญ่ยังเป็นโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ และทำงานกับบริษัทมาประมาณ 1-5 ปี เป็นผู้บริหารระดับต้น ทัศนคติโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อแนวคิดหากจะนำมาระบบควบคุมคุณภาพระดับ Six Sigma มาพัฒนาคุณภาพในอนาคต ประโยชน์ที่กลุ่มตัวอย่างคาดจะได้รับจากการใช้ระบบของ Six Sigma ส่วนใหญ่เห็นว่า มีความเหมาะสมกับบริษัทที่จะนำมาใช้ในด้านการลดต้นทุนการผลิต และเพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาระบบคุณภาพอย่างยั่งยืน ด้านการเพิ่มผลผลิตในการกระบวนการผลิต สามารถช่วยลดของเสียในกระบวนการผลิตได้มาก โดยการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิด มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพที่ชัดเจน และใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีและได้ผล ทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนผลิต มีความแตกต่างกันกับกลุ่มสนับสนุนการผลิตเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมและเป้าหมายในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ในขณะเดียวกัน ระดับความรู้ ความเข้าใจ ก็มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันด้านกลุ่มโรงงานผลิตมีความรู้ ความเข้าใจในระบบคุณภาพ Six Sigma ที่มากกว่ากลุ่มสนับสนุนการผลิต สำหรับข้อเสนอแนะกรณีผู้สนใจศึกษาต่อในเรื่องนี้ ควรมีการศึกษาวิจัย วิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพระดับ Six Sigma คือ ขั้นตอน หรือวิธีการในการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งระดับที่มีของเสียเป็น “ศูนย์” เพราะถือเป็นกลยุทธ์ของฝ่ายบริหารในการพัฒนาคุณภาพ (ซึ่งจะต้องมีความตั้งใจจริงและจริงใจในการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติจริงได้ ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีการทุ่มเททรัพยากรในหลายด้าน) เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าและควรมีการศึกษาสถานประกอบการต่างๆ ว่ามีความต้องการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพระดับใดของ Six Sigma รวมถึงการนำระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้แล้วมีผลลัพธ์หรือผลกระทบในด้านใดบ้าง เพื่อนำมาปรับใช้กับบริษัทฯ ในอนาคตหากมีการนำระบบฯ หรือกลยุทธ์นี้มาประยุกต์ใช้อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การควบคุมคุณภาพ – มาตรฐาน en
dc.subject Quality control -- Standards en
dc.subject บริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) – พนักงาน – ทัศนคติ en
dc.subject Delta Electronics Thailand (Public) Co., Ltd. – Employees – Attitudes en
dc.subject ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) en
dc.subject Six sigma (Quality control standard) en
dc.subject การควบคุมความสูญเปล่า en
dc.subject Loss control en
dc.subject การควบคุมการผลิต en
dc.subject Production control en
dc.subject กรรมวิธีการผลิต en
dc.subject Manufacturing processes en
dc.title การศึกษาทัศนคติของพนักงานระดับบริหารที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพระดับ Six Sigma : กรณีศึกษา บริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) en
dc.title.alternative A Study of Attitude of Executive Employees toward Quality Development of Six Sigma Level : A Case Study of Delta Electronics Thailand (Public) Co., Ltd. en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account