DSpace Repository

แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวภายในประเทศ : กรณีศึกษาเฉพาะกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor รุ่งฤดี รัตนวิไล
dc.contributor.advisor Rungrudee Ratanawilai
dc.contributor.author พรสวรรค์ ว่องตระกูล
dc.contributor.author Pornsawan Wongtrakul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-04-13T08:39:27Z
dc.date.available 2025-04-13T08:39:27Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3795
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการสำรวจด้วยการออกแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยงที่วัดพระแก้วจำนวนทั้งสิ้น 385 คน เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับมาจึงรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา อันได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 บุคคลของกลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายะ 19-25 ปี 26-35 ปี ต่ำกว่า 18 ปี 36-45 ปี 46 ปี ขึ้นไปตามลำดับ ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด รองลงมา คือ อาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อาชีพลูกจ้างหรือพนักงานเอกชน อาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย และพนักงาน/ลูกจ้างในหน่วยงานราชการตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วงต่ำกว่า 5,000 บาท มากที่สุด รองลงมาคือรายได้ 5,001-10,000 บาท รายได้ 10,001-15,000 บาท รายได้ 15,001-20,000 บาท รายได้ 20,001-25,000 บาท ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพ โสดมากที่สุด รองลงมามีสถานภาพสมรสแล้ว และสถานภาพหม้ายหรือหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกมากที่สุด คือ เพื่อการศึกษา รองลงมา คือ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อเที่ยวชมมรดกทางวัฒนธรรมและเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ รูปแบบการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างเลือกวิธีมากที่สุด คือ การกำหนดด้วยตนเอง และซื้อแพกแกจทัวร์จากบริษัททัวร์ตามลำดับ แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนเลือกมากที่สุด คือ ครอบครัวและอินเทอร์เน็ตเท่ากัน รองลงมา คือ บริษัทนำเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อน/เพื่อนร่วมงานและโทรทัศน์เท่ากัน และไม่มีการหาข้อมูล ลักษณะการเดินทางที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมาที่สุด คือ กลุ่มเพื่อน รองลงมา คือ ครอบครัวและไปคนเดียว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเลือกมากที่สุด 2,001-3,000 บาท รองลงมา คือมากกว่า 3,001 บาท น้อยกว่า 1,000 บาท และ 1,001-2,000 บาทตามลำดับ รายการท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมากที่สุด คือ การเที่ยวชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว รองลงมา คือ การเที่ยวชมวัดไตรมิตร วัดโพธิ์ และวัดเบญจมบพิตร การเที่ยวชมเมือง (รวมทั้งซื้อของที่ระลึก) การเที่ยวชมวิถีชีวิตริมน้ำหรือตลาดน้ำ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ/สปาแบบไทย ผลการศึกษา พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้น กลุ่มตัวอย่างให้ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และบริการในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาดในระดับมากปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคลากรในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการให้บริการในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภาพและคุณภาพในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างให้ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ และวัดพระแก้วในระดับมาก en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม – ไทย – กรุงเทพฯ en
dc.subject Heritage tourism – Thailand – Bangkok en
dc.subject การท่องเที่ยว – ไทย en
dc.subject Travel – Thailand en
dc.subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว – ไทย en
dc.subject Tourism – Thailand en
dc.title แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวภายในประเทศ : กรณีศึกษาเฉพาะกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Guiedlines for Development of Domestic Tourism : A Case Study of Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account