การศึกษา ความรู้ ความเข้าใจ และความคาดหวังของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ระดับความรู้ ความเข้าใจ และความคาดหวังเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรแบบวัดผลครั้งเดียว (One – Short Case Study) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยแจกแบบสอบถามกับประชากร คือ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในระดับต่ำกว่าหัวหน้าแผนกทั้งหมด 321 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) เนื่องจากการแจกแจงข้อมูลของ กลุ่มตัวอย่างมีการตอบแบบสอบถามของประชากรที่มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ ดังนั้นจึงใช้สถิติ แบบไม่ใช้พารามิเตอร์ (Non Parametric Statistic) ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสถิติที่เลือกใช้คือ ค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-Square Tests) กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-35 ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สังกัดหน่วยงานกอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และอายุการทํางาน 10 ปีขึ้นไป ด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ด้านความคาดหวังของผู้ตอบแบบสอบถามเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุการทํางาน มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของ ผู้ตอบแบบสอบถาม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส และหน่วยงานที่สังกัด ไม่มีผล ต่อความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา และระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส อายุการทํางาน และหน่วยงานที่สังกัด ไม่มีผลต่อความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา มีผลต่อความคาดหวังของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน หน่วยงานที่สังกัด และอายุการทํางานไม่มีผลต่อความคาดหวังของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
The objective of this study was to study the level of knowledge, understanding and expectations of the (Huachiew Chalermprakiet University) HCU staff on ASEAN Economic Community (AEC). This study was a Survey Research that collected data from a population using a single measurement (One - Short Case Study). The population was 321 HCU staffs. Questionnaires were used as the instrument for data collection. The data were analyzed by using descriptive statistics; frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested by using inferential statistics. Since the distribution of the data was not a normal distribution, therefore, non-parametric statistics, Chi-Square Test, was used to test the hypothesis. The level of significance was set at α = 0.05. The results showed that the population; female and males were approximately as the same amount. The range of age was 31-35 years old while the marriage status; single and married were approximately similar number. The education level of the population was mostly at Bachelor Degree and working for HCU Department for at least 10 year long. The average income was 10,001 to 20,000 Bath monthly. The level of knowledge about the AEC of the respondents on average was moderate and the level of understanding the AEC by most of the respondents was good. The hypothesis test showed that the personal factor in the level of education, level of income and working period significantly affected the knowledge of the AEC at α = 0.05 while the other factors did not show significantly effect. The level of education and level of income significantly affected the understanding of the AEC at α = 0.05 while the other factors did not show significantly effect. Level of education significantly affected the expectation of HCU staff from the AEC at α = 0.05 while the other factors did not show significantly effect.