dc.contributor.author |
ชโลธร กุลถาวรากร |
|
dc.contributor.author |
Chalotorn Kuntarvalarkorn |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration. Graduate Student |
en |
dc.date.accessioned |
2025-05-23T03:50:24Z |
|
dc.date.available |
2025-05-23T03:50:24Z |
|
dc.date.issued |
2014 |
|
dc.identifier.citation |
วารสาร ธุรกิจปริทัศน์ 6,1 (มกราคม-มิถุนายน 2557) : 201-217 |
en |
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3889 |
|
dc.description |
สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full Text) ได้ที่ :
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/143773/106383 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาด้านการบริหารจัดการ การป้องกันน้ำท่วมของผู้พักอาศัยในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 เขตบางกรวย-ไทรน้อย จ. นนทบุรี จากประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านดังกล่าว ในด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการบริหารจัดการกระบวนการป้องกันภัยน้ำท่วม การมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในชุมชน และด้านปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค จากการสัมภาษณ์ประชาชนในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ที่อยู่ในเหตุการณ์และเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ป้องกันภายครั้งนี้ โดยงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจังเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
การบริหารจัดการในการสรรหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน ได้เลือกจากความรู้ ความสามารถ รวมทั้งประสบการณ์ในการทำงานที่เหมาะสมกับการป้องกันภัยในครั้งนี้ และการแบ่งสรรบุคคลในการตรวจตรา ควบคุม การเพิ่มขึ้น-ลดลง ของน้ำในแต่ละวัน ซึ่งการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกและภายใน จึงทำให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ด้านการบริหารงบประมาณการเงิน การเงิน (Money) ในการบริหารการเงิน ได้มาจากการเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือนละ 1,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งการเก็บเงินจากบุคคลที่ประสบภัยน้ำท่วมที่นำรถมาจอดในหมู่บ้าน คันละ 500 บาทต่ออาทิตย์ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางด้านวัสดุอุปกรณ์ทางหมู่บ้านสร้างคันดิน และการก่อทราบเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมเข้าหมู่บ้าน และการก่อทราบเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมเข้าหมู่บ้าน รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกในการยืมเครื่องปั่นน้ำ เพื่อสูบน้ำออกไม่ให้ทะลักเข้ามาในหมู่บ้าน และมีการหาข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกและทางเว็บไซต์ เพื่อดูการเข้ามาของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้รับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการ
การมีส่วนร่วมของบุคคลในชุมชนบุคคลในหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจึงทำให้สมาชิกในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันความเสียหาย และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกที่อยู่เป็นอย่างดี ทุกคนมีความสามัคคี มีน้ำใจซึ่งกันและกัน และให้ความช่วยเหลือจึงทำให้การบริหารจัดการ การป้องกันภัยครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จจากการร่วมมือกันของทุกคนในสมาชิก
การแก้ไขปัญหาอุปสรรคการแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีสติและมีความรอบคอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นมีความรุนแรง ก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคได้ มีการแก้ไขโดยจากทุกฝ่ายช่วยกัน จึงทำให้การป้องกันภัยน้ำท่วมหมู่บ้านศิริวรรณ 1 ประสบความสำเร็จ |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
น้ำท่วม -- ไทย -- นนทบุรี |
en |
dc.subject |
Floods -- Thailand -- Nonthaburee |
en |
dc.subject |
หมู่บ้านศิริวรรณ 1 (บางกรวย-ไทยน้อย, นนทบุรี) |
en |
dc.subject |
Siriwan Village 1 (Bangkruy-Sainoi, Nonthaburee) |
en |
dc.subject |
การป้องกันน้ำท่วม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
en |
dc.subject |
Flood control -- Citizen participation |
en |
dc.subject |
อุทกภัย -- ไทย -- นนทบุรี |
en |
dc.title |
การศึกษาการบริหารจัดการ กระบวนการการป้องกันภัยน้ำท่วมของชุมชนในเขตบางกรวย-ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี กรณึศึกษา หมู่บ้านศิริวรรณ 1 |
en |
dc.title.alternative |
A Study on Flooding Protection Management in Bangkruy-Sainoi, Nonthaburee Province: A Case Study of Siriwan Village 1 |
en |
dc.type |
Article |
en |