DSpace Repository

การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงชมพู โจนส์
dc.contributor.advisor Puangchompoo Jones
dc.contributor.author รัศมีแข แพ่งศรีสาร
dc.contributor.author Ratsameekhae Paengsrisarn
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2025-07-20T06:30:48Z
dc.date.available 2025-07-20T06:30:48Z
dc.date.issued 2010
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4329
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553 en
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงานใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนนโยบายด้าน การจัดสวัสดิการและศึกษาความพึงพอใจและความต้องการในสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานอีสาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ มีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกสถานที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยมีเกณฑ์ พิจารณาเลือกจากนิคมอุตสาหกรรมที่มีแรงงานมาทำงานอยู่เป็นจำนวนมากและเครื่องมือ ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยเก็บแบบสอบถามที่สมบูรณ์ได้จำนวน 401 ชุด และได้นำ ข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ได้ค่าสถิติ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ รวมทั้งทดสอบสมมติฐานในการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ได้แก่ แมนวิทนีย์ (Mann-whitney Test) ในการทดสอบคำถามลักษณะบุคคล ในด้านเพศ และลักษณะงานที่ทำของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติ คลัสคลอ วัลลิส (Kruskal-wallis Tests) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ข้อมูลลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 60.3 อายุอยู่ในช่วง 21 -30 ปี ร้อยละ 56.6 มีสถานภาพโสดร้อยละ 52.9 และยังไม่มีบุตรร้อยละ 50.9 มีการศึกษาอยู่ใน ระดับปริญญาตรีร้อยละ 28.3 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 11,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 36.9 ทำงานมา เป็นเวลามากกว่า 4 ปี ร้อยละ 32.1 และมีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการร้อยละ 68.1 โดยส่วนใหญ่ ทำงานในส่วนการผลิตร้อยละ 79.5 และทำงานในสถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรม ยานยนต์ร้อยละ 51.0 การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการของแรงงานกลุ่มตัวอย่าง พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อ ความพึงพอใจมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านบริการทางสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง เรื่องของมีการบริการตรวจสุขภาพประจำปี (ค่าเฉลี่ย 3.42) รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดให้มี สภาพการทำงานที่ดี เรื่องบริษัทมีการกำหนดชั่วโมงทำงานที่ให้ท่านมีเวลาพักผ่อนเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 3.39)และอันดับสุดท้ายได้แก่ ปัจจัยด้านความสะดวกสบายขณะปฏิบัติงาน เรื่องการจัดหา น้ำดื่ม น้ำใช้ ห้องน้ำ ห้องส้วมในสถานที่ทำงานอย่างเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 3.38) ซึ่งปัจจัยอันดับที่ 1 มีผลต่อความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 นั้นมีผลต่อความพึงพอใจอยู่ใน ระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ใช้แรงงานที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้ใช้แรงงาน ที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความต้องการในสวัสดิการแรงงานของแรงงาน ชาวอีสานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ควรมีการจัดสวัสดิการที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนดไว้สำหรับ แรงงาน เช่น การบริการรับ-ส่งระหว่างที่พักและที่ทำงาน การจัดตั้งร้านสหกรณ์ สินค้าราคาถูกแก่ ลูกจ้าง การจัดตั้งสโมสรพักผ่อนหย่อนใจ สวน สนามเด็กเล่นบริเวณที่พักของลูกจ้าง เป็นต้น รวมถึงการจัดการด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน บรรยากาศในสถานที่ทำงาน โดยการจัดการระบบระบายอากาศให้ถ่ายเทสะดวก ความสว่างของ แสงไฟเพียงพอต่อการทำงาน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความภักดีต่อองค์กร ลดปัญหาการขาดงานและการลาออก en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร en
dc.subject Amata Nakorn Industrial Estate en
dc.subject สวัสดิการลูกจ้าง en
dc.subject สวัสดิการในโรงงาน en
dc.subject Industrial welfare en
dc.subject แรงงาน en
dc.subject Labor en
dc.subject ความพอใจ en
dc.subject Satisfaction en
dc.title การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร en
dc.title.alternative Policy Planning for the Welfare Workers in the Plant Operators Amata Nakorn Industrial Estate en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account