Abstract:
การวิจัยเรื่อง การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงานใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนนโยบายด้าน การจัดสวัสดิการและศึกษาความพึงพอใจและความต้องการในสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานอีสาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ มีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกสถานที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยมีเกณฑ์ พิจารณาเลือกจากนิคมอุตสาหกรรมที่มีแรงงานมาทำงานอยู่เป็นจำนวนมากและเครื่องมือ ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยเก็บแบบสอบถามที่สมบูรณ์ได้จำนวน 401 ชุด และได้นำ ข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ได้ค่าสถิติ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ รวมทั้งทดสอบสมมติฐานในการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ได้แก่ แมนวิทนีย์ (Mann-whitney Test) ในการทดสอบคำถามลักษณะบุคคล ในด้านเพศ และลักษณะงานที่ทำของกลุ่มตัวอย่าง และสถิติ คลัสคลอ วัลลิส (Kruskal-wallis Tests) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ข้อมูลลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 60.3 อายุอยู่ในช่วง 21 -30 ปี ร้อยละ 56.6 มีสถานภาพโสดร้อยละ 52.9 และยังไม่มีบุตรร้อยละ 50.9 มีการศึกษาอยู่ใน ระดับปริญญาตรีร้อยละ 28.3 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 11,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 36.9 ทำงานมา เป็นเวลามากกว่า 4 ปี ร้อยละ 32.1 และมีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการร้อยละ 68.1 โดยส่วนใหญ่ ทำงานในส่วนการผลิตร้อยละ 79.5 และทำงานในสถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรม ยานยนต์ร้อยละ 51.0 การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการของแรงงานกลุ่มตัวอย่าง พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อ ความพึงพอใจมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านบริการทางสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง เรื่องของมีการบริการตรวจสุขภาพประจำปี (ค่าเฉลี่ย 3.42) รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดให้มี สภาพการทำงานที่ดี เรื่องบริษัทมีการกำหนดชั่วโมงทำงานที่ให้ท่านมีเวลาพักผ่อนเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 3.39)และอันดับสุดท้ายได้แก่ ปัจจัยด้านความสะดวกสบายขณะปฏิบัติงาน เรื่องการจัดหา น้ำดื่ม น้ำใช้ ห้องน้ำ ห้องส้วมในสถานที่ทำงานอย่างเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 3.38) ซึ่งปัจจัยอันดับที่ 1 มีผลต่อความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 นั้นมีผลต่อความพึงพอใจอยู่ใน ระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ใช้แรงงานที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในสวัสดิการแรงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้ใช้แรงงาน ที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความต้องการในสวัสดิการแรงงานของแรงงาน ชาวอีสานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา การวางแผนนโยบายด้านการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ควรมีการจัดสวัสดิการที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนดไว้สำหรับ แรงงาน เช่น การบริการรับ-ส่งระหว่างที่พักและที่ทำงาน การจัดตั้งร้านสหกรณ์ สินค้าราคาถูกแก่ ลูกจ้าง การจัดตั้งสโมสรพักผ่อนหย่อนใจ สวน สนามเด็กเล่นบริเวณที่พักของลูกจ้าง เป็นต้น รวมถึงการจัดการด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน บรรยากาศในสถานที่ทำงาน โดยการจัดการระบบระบายอากาศให้ถ่ายเทสะดวก ความสว่างของ แสงไฟเพียงพอต่อการทำงาน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความภักดีต่อองค์กร ลดปัญหาการขาดงานและการลาออก