การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงในสารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาด พ.ศ. 2553-2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงในสารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาด และเพื่อวิเคราะห์คุณค่าของสารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาด ขอบเขตงานวิจัย คือ ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาของสารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาด พ.ศ. 2553-2561 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงทั้งหมด 7 เรื่อง ได้แก่ ฉันคือเอรี่กับประสบการณ์ข้ามแดน พฤกษามาตา ก่อนสิ้นรุ่งอรุณแห่งฝัน ขังหญิง ความฝันของฉันทนา โลกคู่ขนาน และความงดงามของชีวิต โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาด พ.ศ. 2553-2561 ทั้ง 7 เรื่องได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่มาจากครอบครัวฐานะยากจน ได้รับการศึกษาน้อย ต้องดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่รอด โดยประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน ต้องอดออมส่งเงินเลี้ยงดูครอบครัว เนื้อหาของสารคดียังสะท้อนให้เห็นปัญหาของผู้หญิงในสังคมไทยที่ขาดโอกาสในการศึกษาต้องถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและถูกข่มเหงรังแก และผู้หญิงที่ได้รับการศึกษามีความรู้สูง ต้องทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ต้องมีการศึกษาหาความรู้และฝึกประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพของตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความรับผิดชอบ มีความอดทนสูง สารคดีที่ได้รับรางวัลชมนาดยังให้คุณค่าในด้านความรู้ แง่คิด และความเพลิดเพลิน ทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจการใช้ชีวิตและทัศนคติของผู้หญิงไทยที่ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อชีวิต พยายามเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคมไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ในขณะเดียวกัน ผู้อ่านยังได้รับความเพลิดเพลินใจ โดยการใช้ระดับภาษาและสำนวนโวหารในการเขียนของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะของวรรณกรรมประเภทสารคดีที่มุ่งให้ความรู้และแง่คิดแก่ผู้อ่าน ในขณะเดียวกันก็ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านด้วยความสามารถในการใช้ภาษาของผู้เขียน
This research "Content Analysis on women in awarded-winning non-fictions from Chommanard Book Prize during 2010-2018" aims to analyze the content on women and its value in awarded-winning non-fictions from Chommanard Book Prize during 2010-2018. The scope of this research is to analyze the content in seven Chommanard awarded-winning non-fictions which have the content about women: Chan Kue Eri Kap Prasobkarn Chantana, Lok Koo Kanan and Kwam Ngod Ngam Khong Cheevit. This research is presented in descriptive analysis. The research discovers that seven Chommanard awarded-winning non-fictions featured the content about reality of Thai women who have learned the meaning and value of life in many aspects. The women from poor family are less educated and struggle to survive by pursuring a career with a labor work and must have save the money to support their family. In addition, the content of non-fictions reflects the problem of women in Thai society who lacks of education being oppressed and persecuted. On the other hand, women who are well educated work with skills and knowledge and they always have to study and practice in their profession because while working, they have to use their knowledge, abolity to solve various crisis and they have to have high responsibility and patience. Besides, Chommanard awarded-winning non-fictions present values in knowledge, idea and enjoyment that make the readers understand life and attitude of Thai women who never give up in life and try to change to better life in order to be accepted by society whether they are successful. At the same time, the reader also get the pleasure in beautiful language and idiom appropriately used by the authors in accordance with character of non-fiction intends to present to the reader the knowledge and insight as well as an enjoyment in author's writing ability.