การวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนสังคมไทยในนวนิยายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2546-2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพสะท้อนสังคมไทยในนวนิยายรางวัลซีไรท์ พ.ศ. 2546-2561 และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในนวนิยายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2546-2561 โดยศึกษาวิเคราะห์นวนิยายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2546-2561 จำนวน 6 เล่ม และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ในนวนิยายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2546-2561 สะท้อนภาพสังคมไทย มี 2 ส่วน ได้แก่ ภาพสะท้อนสังคมชนบท และภาพสะท้อนสังคมเมือง 1) ภาพสะท้อนสังคมชนบท มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และอาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ ด้านการศึกษาเด็กบางคนยังไม่ได้มีโอกาสไปโรงเรียน ด้านวัฒนธรรมไทยมีค่านิยม คือ ผู้ชายเป็นใหญ่ มีความเชื่อเรื่องผีและศรัทธาในศาสนาพุทธ์ 2) ภาพสะทท้อนสังคมเมือง มีวิถีชีวิตอาศัยอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ การประกอบอาชีต้องพึ่งพาความรู้มาก เศรษฐกิจอยู่ในระดับดี ด้านการศึกษา เด็กส่วนใหญ่ได้เรียนหนังสืออย่างต่อเนื่อง ด้านวัฒนธรรมไทยมีค่านิยมการเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีความเชื่อเกี่ยวกับผี วิญญาณและการมีเทวดาคุ้มครอง ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในนวนิยายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2546-2561 มี 2 ส่วน ได้แก่ ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาสังคมชนบท และสังคมเมือง 1) ปัญหาสังคมชนบท มีปัญหาครอบครัว คือ เด็กที่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่ การมีชู้ของพ่อหรือแม่ และความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจคือความยากจน ปัญหาการศึกษา คือเด็กไม่ได้ไปโรงเรยน และผู้ใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปัญหาการทำผิดกฎหมายคือ การเล่นไพ่ และโสเภณี ปัญหาคุณธรรมคือ ความไม่ซื่อสัตย์ และความไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน แนวทางแก้ปัญหาสังคมชนบทแก้ด้วยการที่ผู้มีอำนาจช่วยเหลือและผู้ใหญ่อบรมสั่งสอน 2) ปัญหาสังคมเมือง มีปัญหาครอบครัว คือ ผู้ชายมีชู้ ปัญหาการทำผิดกฎหมาย คือ ปัญหาโสเภณี ปัญหาการลักพาและการกักขัง ไม่พบแนวทางแก้ปัญหาของสังคมเมือง
This research aimed to analyze reflections of Thai society in six SEA Write awarded novels in 2003-2018 in order to observe social problems and solutions shown in the novels. Research findings were reported as a descriptive analysis. For reflections of Thai society, twp aspects-the rural and the urban-were found. 1) The rural society-describing simple ways of life surrounded by the nature; low economy; lacking of formal education children; patriarchal family; superstitious beliefs; and faith in Buddhism. And 2) the urban society-portraying living in limited spaces, like in apartments; high knowledge-required professions; good economy; broad educational chance for children; senior-oriented family; beliefs in ghosts, spirits, and angels. Regarding social problems and solutions, they were presented accordingly to the areas, as well. 1) Rural problems - lacking parental cares children; infidelities of parents; violence in families; poverty; uneducated children; illiterate adults; gambling; prostitutes; immoral practices, like dishonest or irresponsible. The suggested solutions focused on the authorities and seniors in the family. And 2) urban problems-including infidelities; prostitutes; kidnapping; and personal confinements. No solution suggested was noticed.