This research examined to discover 1) barriers to gender inequality issues as reflected in The House of Earth Trilogy; and 2) solutions appropriate to empower women. The research findings aim to provide a new angle to disclose the way in which Chinese women were historically oppressed and restored. Data were collected from the texts of the Trilogy through six main characters' action, speech, and consciousness. The data were then categorized into two themes: women's social status and women's feminist consciousness and analyzed from a socialist feminism perspective based on conceptual framework of Stanley's and Wise's (1993) three themes on feminism, Mitchell's (1966) four structures on women's oppressed situation, and Srisermbhok's (2003) dichotomy between genders. The outcomes aligned with the objectives and suggested that the author Buck considered gender inequality as the interaction of the unequal social class and the patriarchy. Chinese women were inferior to men and they had less freedom and power because culturally speaking they were obliged to bind their feet, marry through arrangement and become sexual objects and reproduction tools. Buck also expressed her solutions to empower women by means of right education, inheritance, independent marriage, professions and men's respect through the main female characters' changes of their family patterns and of themselves so that they could work, earn incomes and live an independent life. As both changing family patterns and becoming workforce derived from the power of right education, Buck indicated that right education could empower women to seek the equality of social status with men and freedom consciously.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อุปสรรคที่มีต่อปัญหาความเสมอภาคทางเพศตามที่ปรากฏในนวนิยายไตรภาคเรื่อง The House of Earth Trilogy และ 2) แนวทางที่เหมาะสมในการเสริมสร้างพลังอำนาจของสตรี ผลการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มุมมองใหม่ ๆ สำหรับวิธีการที่สตรีจีนถูกกดขี่และฟื้นตัวในอดีต ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมจากงานเขียนนวนิยายไตรภาคผ่านการกระทำ คำพูด และสติของตัวละครหลักหกตัว จากนั้นข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ สถานะทางสังคมของผู้หญิงและความรู้สึกสตรีนิยมของสตรี และวิเคราะห์ข้อมูลจากกรอบแนวคิดของสตรีนิยมสังคมนิยมของ Stanley and Wise (1993) แนวคิดสตรีนิยมสามประเด็นของ Mitchell (1966) และการแยกแยะระหว่างเพศของ Srisermbhok (2003) ผลการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และชี้ให้เห็นว่า ผู้แต่งนวนิยาย Buck พิจารณาความไม่เท่าเทียมทางเพศสืบเนื่องมาจากการปฏิสัมพันธ์ของชนชั้นทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันและระบบการปกครองแบบปิตาธิปไตย สตรีจีนมีความต่ำต้อยกว่าบุรุษชาวจีน และมีเสรีภาพและอำนาจน้อยกว่า เนื่องจากวัฒนธรรมจีนมีจารึตการรัดเท้าของสตรีให้คับแน่นเพื่อให้เรียวเท้าเล็ก มีการแต่งงานด้วยวิธีคลุมถุงชน และมีวิถีชีวิตเหมือนเป็นวัตถุทางเพศและเครื่องมือการสืบพันธุ์ Buck ยังได้แสดงออกถึงแนวทางในการเสริมสร้างพลังอำนาจของสตรีด้วยการศึกษาที่เหมาะสม การรับมรดกการแต่งงาน เสรีภาพ การประกอบวิชาชีพ และความเคารพของผู้ชาย โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบครอบครัวของตัวละครหลักและการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหลักเองเพื่อหันมาพึ่งพาตนนเองด้วยการทำงาน Buck ยังชี้ให้เห็นว่าการศึกษาที่เหมาะสมทำให้สตรีแสวงหาความเท่าเทียมทางสถานะทางสังคมกับผู้ชายและเสรีภาพได้อย่างมีสติ