การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของนักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาและศึกษาว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านการเรียน ด้านการปรับตัว ด้านปัญหาส่วนตัว และด้านระบบการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการพ้นสภาพนักศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาในปีการศึกษา 2537-2539 ที่ตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่พ้นสภาพนักศึกษามีจำนวน 1,498 คน คิดเป็นร้อยละ 25.23 ของนักศึกษาทั้งหมด 5,938 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.96 โดยชั้นปีที่ศึกษาล่าสุดก่อนออกจากมหาวิทยาลัยเป็นนักศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 72.66 สาขาวิชาที่นักศึกษาพ้นสภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับจำนวนรับเข้ามาศึกษาในแต่ละสาขา คือ สาขาวิชาการเงิน และสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 94.92 และ 86.21 ตามลำดับ น้อยที่สุดคือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ร้อยละ 13.95 การเข้ามาเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยร้อยละ 90.65 โดยสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่ามาจากการสอบปกติร้อยละ 96.73 โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ระหว่าง 1.51-2.00 เมื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านการเรียน ด้านการปรับตัว ด้านปัญหาส่วนตัว และด้านระบบการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย กับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่นักศึกษาพ้นสภาพ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .2618
The objectives of this study were to (1) reveal general charisteristics of retired students, and (2) find factors effecting the retirement. Samples were 191 HCU students who were retired during the academic year 1994-1996. Data was collected by questionnaires constructed by researchers, the reliability of the questionnires was 0.91. The results of the study have shown that there are the retired students about 1,498 of all 5,938 students (25.23%), female students 66.96%, the first year students when retired (72.56%) and most the retired students were studied in financing (94.92%) and Environmental Health majors (86.21%). The major that have retired student the lowest was Pharmacology. Most of them were the students who have entranced from the HCU examination. The GPA of the retired students from the secondary school between 1.51-2.00. When studied the relationship between economical, learning style, the adjustment of students, the personal problems and educational process of the institutional factors that effecting the retirement and the GPA of the retired students, the relationship was no significance and the multiple correlation coefficient was .2618.