Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1008
Title: การศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: A Study of Problems in Writing Thai for Communication of Huachiew Chalermprakiet University Freshmen
Authors: ทัศพร เกตุถนอม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University -- Students
ภาษาไทย -- การเขียน
Thai language -- Writing
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Thai language -- Study and teaching (Higher eduacation)
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้จาก แบบทดสอบการเขียนความเรียงวิชาภาษาไทยกับการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 293 ฉบับ การวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการเขียนความเรียงด้านต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ดี นักศึกษาบางคนที่มีปัญหาการเขียนความเรียงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การเสนอแนะเนื้อหาสาระ ขาดการเสนอความคิดเชิงสร้างสรรค์ ไม่แสดงความก้าวหน้าทางความคิด ไม่เน้นข้อคิดที่สำคัญและขาดเหตุผลสนับสนุนความคิด การใช้ภาษา มีการใช้กลุ่มคำและประโยคไม่เหมาะสมกับภาษาเขียน การอ้างอิง ไม่เหมาะกับเนื้อเรื่อง การเรียงคำเข้าประโยคไม่ถูกต้องมักใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน มีการใช้คำไม่ตรงความหมายและการใช้คำกำกวม องค์ประกอบการเขียน การวางสระวรรณยุกต์ไม่ถูกต้องตรงตามตำแหน่ง ใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง แบ่งวรรคตอนไม่เหมาะสม เขียนสะกดการันต์ผิด ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป ลักษณะของการเขียน ข้อความขาดการเน้นย้ำในที่ที่ควรเน้นและขาดความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ทำให้งานเขียนขาดความสมบูรณ์และขาดความมีเอกภาพของเรื่องไป การวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ ให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทยกับการสื่อสาร เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการเรียนวิชาอื่นและยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ก็มีนักศึกษาบางคนที่ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์การใช้ภาษาไทยจึงทำให้ใช้ภาษาเขียนไม่ถูกต้องและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยให้กับนักศึกษาเพิ่มขึ้นและนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาไทยให้เหมาะสมกับนักศึกษา
The purpose of this study is to investigate the problems of writing for communication among Huachiew Chalermprakiet University’s first year students. The data was collected from 293 test papers done by students taking the course “Thai and Communication” during the first semester of the academic year 1998. The results indicate that most students have rather high capability to write different kinds of essays. Some have various problems including, presentation: lacking creative ideas, main ideas and supportive ideas Language usage: improper and misleading words and sentences using Writing composition: misspelling and improper words-breaking which lead to misleading sentences Writing style: incoherent writing and lack of supportive sentences which lead to incomplete essays The analysis suggests student’s positive opinions about taking the course “Thai and Communication.” Most of them find it an interesting and important course since it is useful for studying other subjects and helps improve their practical to use Thai. However, some problems were found including the students lack of grammar knowledge that leads to poor writing ability and unconfident. In concludsion, for improving learning ability of the students, the students should frequently be practiced writing. In addition courses should be more properly assigned.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1008
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf249.11 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf107.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf345.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf436.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf716.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf598.22 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf662.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.