Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/108
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้บริการประชาชนของข้าราชการตำรวจ : ศึกษาเฉพาะข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาล
Other Titles: Factors Effecting Service Behavior of Police : A Case Study of Police in Metropolitan Police Bureau
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
ธรรมนูญ เชาวะวนิชย์
Thammanoon Chaovawanich
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ตำรวจนครบาล
บริการสาธารณะ
Police
Public services
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้บริการประชาชนของข้าราชการตำรวจ ศึกษาเฉพาะข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับสถานีตำรวจ ในเขตกองบัญชาการตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจนครบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับสถานีตำรวจจำนวน 169 นาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 169 คน เฉลี่ยอายุ 36.10 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี จบจากโรงเรียนพลตำรวจ รายได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท และจะพอดีไม่เหลือเก็บ และส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน ส่วนระดับตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นตำรวจชั้นประทวน ระดับตำแหน่ง ผบ.หมู่ ลูกแถว ส่วนใหญ่ปฏิบัติราชการตำรวจนาน 1-10 ปี และอยู่ในสถานีตำรวจที่มีปริมาณงานมากจากการศึกษาลักษณะทางจิตใจ 3 ด้าน ของข้าราชการตำรวจ ได้แก่ การควบคุมตนเอง ทัศนคติต่อการทำงานราชการ และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม พบว่า ข้าราชการตำรวจมีการควบคุมตนเองในระดับปานกลาง และมีทัศนคติต่อการทำงานราชการค่อนข้างดี มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงในระดับ 4 คือ ระดับที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมเป็นเกณฑ์การบริการประชาชนของตำรวจ แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ ให้บริการในสถานีตำรวจ ให้บริการด้านป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ให้บริการภายนอกสถานีตำรวจโดยไม่เกี่ยวกับการกระทำผิด และให้บริการทั่ว ๆ ไป โดยข้าราชการตำรวจมีการให้บริการประชาชนโดยใช้จิตสำนึกมากกว่าการทำตามหน้าที่ สูงที่สุดคือ การให้บริการแก่ผู้มาติดต่อในสถานีตำรวจ รองลงมาคือ การให้บริการด้านการป้องกันปราบปรามและให้บริการทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนบริการที่ข้าราชการตำรวจให้บริการโดยใช้จิตสำนึกน้อยกว่าการปฏิบัติหน้าที่คือ การให้บริการแก่ผู้เดือดร้อนนอกสถานีตำรวจที่ไม่ใช่เกิดจากการกระทำความผิดการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้บริการของตำรวจ ทั้ง 4 ด้านทีละด้าน โดยการใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจที่มีปริมาณงานน้อยมีพฤติกรรมให้บริการประชาชนด้านการอำนวยความสะดวกในสถานีตำรวจโดยใช้จิตสำนึก ขณะที่ข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจที่มีปริมาณงานมาก สัมผัสประชาชนมากมีลักษณะการให้บริการประชาชนตามหน้าที่รายได้ต่อเดือนของข้าราชการตำรวจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้บริการด้านการป้องกันปราบปราม คือผู้มีรายได้ต่อเดือนสูงจะมีการให้บริการด้านการป้องกันปราบปราบด้วยจิตสำนึก และผู้ที่มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูง มีการให้บริการภายนอกสถานีโดยไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดโดยใช้จิตสำนึก ส่วนผู้ที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมต่ำ มีการให้บริการโดยทำตามหน้าที่จากผลการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเพิ่มนโยบายพัฒนาการให้บริการประชาชนในเชิงรุก เพื่อให้ตำรวจได้มีโอกาสสัมผัสกับประชาชนง่ายขึ้น สร้างจิตสำนึกในการให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น- สถานีตำรวจควรเน้นการให้บริการประชาชนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น นำสถานีตำรวจให้เข้าไปสัมผัสประชาชนได้มากขึ้น- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดสวัสดิการให้ตำรวจอย่างเหมาะสม เพื่อให้ตำรวจมีกำลังใจในการบริการประชาชนมากขึ้น
This research is the study on factors effecting service behavior of police, a case study of police who are assigned the duty at police stations in boundary of Metropolitan Police Bureau. Samples are 169 police at Metropolitan Police Bureau who are on duty at police stations. Data was collected with questionnaires and was analyzed by percentage, mean, analysis of variance and multiple regression. The finding indicated that 169 samples were 36.10 years of age. Graduated bachelor degree, mostly from Police Academy. They mostly earned about 5,001-10,000 baht per month which was not enough, so most of them were in debt. As for the position, most of them were head officers and ordinary police. They mostly have been working for about 1-10 years and worked in the police stations with fully loaded tasks. On the study on 3 aspects of mental characteristics of the police including self-control, attitude towards governmental works, and moral reasoning; the findings indicated that the police had average level of self-control, had rather good attitude towards governmental works, and had moral reasoning at level 4, which meant that they had reasons of concerning social order when they made decision. The services for people were grouped in 4 categories; the services at the stations, services on prevention and suppress the crimes, other services outside police station which were not related to crimes and other general services, The services police done for people with spiritual concerns most were services at the stations, second were service to prevent and suppress crimes and other general services which were not related to police duty. The services police done by responsibility of duty rather than spiritual concerns were services outside the police stations.The analysis on factors effecting service behavior of police indicated that the station with less quantity of works influenced police to facilitate people with spiritual concerns, higher income influenced police to give services in prevention and suppression of crimes with spiritual concerns. And last factor, higher moral reasoning influenced police to give services to people outside police stations with spiritual concerns rather than with responsibility of duty. According to these findings, it leads to the suggestions as follows: -The National Police Bureau should increase the service development policy with advance approach in order to give the police more opportunity to encounter with the people and to raise their spirit of giving services. -The police station should be emphasized on closely services of people. That leads police stations to encounter with more people. -The other offices related to police should provide fringe benefit to police appropriately to encourage police to serve people more.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/108
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf403.49 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf169.56 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf430.71 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf551.41 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf535.43 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf357.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.