Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1088
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้ข้อกับการทรงตัวของผ้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตําบลบางเสาธง อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Relationship among Pain, Stiffness, Function of Knee Joint with Balance in Community-Dwelling Elderly People with Knee Osteoarthritis at Bangsaothong District, Samutprakanrn Province
Authors: วิญญ์ทัญญู บุญทัน
นพนัฐ จำปาเทศ
สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค
รัชนี นามจันทรา
นิภาพร เหล่าชา
Winthanyou Bunthan
Nopphanath Chumpathat
Rachanee Namjuntra
Suthisri Trakulsithichok
Nipaporn Loacha
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Keywords: ข้อเข่า -- โรค -- ผู้ป่วย
Knee -- Diseases -- Patients
ผู้สูงอายุ -- โรค
Older people -- Diseases
การทรงตัว
Equilibrium (Physiology)
ข้อเสื่อม
Osteoarthritis
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อ การทรงตัว และความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝื ด ความสามารถในการใช้ข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตําบลบางเสาธง อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 128 ราย จากจํานวนผู้สูงอายุในชุมชนทั้งหมด 958 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม มาตรฐาน คือแบบสอบถาม ความสามารถในการทรงตัว (Berg balance test) และแบบประเมิน ความปวด ข้อฝืด และความสามารถในการใช้ข้อ โดยใช้แบบสอบถาม Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University) ฉบับภาษาไทยจาก ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า มีผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จํานวนทั้งหมด 128 คน จากจํานวนผู้สูงอายุทั้งหมด 958 คน คิดเป็ นร้อยละ 13.36 ซึ่งร้อยละ 77.30 เป็ นเพศหญิง ร้อยละ 22.70 เป็น เพศชาย ร้อยละ 32.00 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ (18.5 Kg./m2-22.9 Kg./m2) ร้อยละ 71.10 จบ การศึกษาสูงสุดระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 42.20 มีสถานภาพสมรสเป็นหม้าย ร้อยละ 52.30 ไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ร้อยละ 69.50 มีผู้ดูแลหลักเป็นบุตรหลาน ร้อยละ 71.10 พักอาศัยอยู่ชั้นล่างของที่อยู่อาศัย ร้อยละ 59.40 ใช้ห้องสุขาแบบชักโครก ร้อยละ 74.20 มีโรคประจําตัว ร้อยละ 57.00 นั่งห้อยขาเป็นประจํา ร้อยละ 42.20 ออกกําลังกายเป็นประจําทุกวัน ด้านอาการปวดเข่า พบว่า ร้อยละ 63.37 มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 24.75 มีอาการปวดเข่าปานกลาง ร้อยละ 11.88 มีอาการปวดเข่ามาก ด้านอาการข้อฝืด พบว่า ร้อยละ 54.95 มี อาการข้อฝื ดน้อย ร้อยละ 34.06 มีอาการข้อฝืดปานกลาง ร้อยละ 10.99 มีอาการข้อฝืดมาก และ ด้านความสามารถในการใช้ข้อ พบว่า ร้อยละ 67.70 มีปัญหาการใช้ข้อน้อย ร้อยละ 22.92 มีปัญหาในการใช้ข้อปานกลาง ร้อยละ 9.38 มีปัญหาในการใช้ข้อมากระดับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม พบว่า ร้อยละ 67.20 มีอาการข้อเข่าเสื่อมน้อย ร้อยละ 24.20 มีอาการข้อเข่าเสื่อมปานกลาง ร้อยละ 8.60 มีอาการข้อเข่าเสื่อมมาก ด้านการทรงตัว พบว่า ร้อยละ 76.60 มีการทรงตัวดี โอกาสเกิดการพลัดตกหกล้มน้อย ร้อยละ 15.60 มีโอกาสเกิดการพลัดตกหกล้มปานกลาง และร้อยละ 7.80 มีการทรงตัวไม่ดี เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มระดับความสามารถในการใช้ข้อ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการทรงตัวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.582) และระดับความปวดมีความสัมพันธ์ในระดับตํ่ากับการทรงตัวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.261) ส่วนอาการข้อฝืดไม่มีความสัมพันธ์กับการทรงตัวผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในเทศบาลตําบลบางเสาธง อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ควรได้รับคําแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อลดอาการปวด ข้อฝืด ปัญหาในการใช้งานข้อและป้องกันการพลัดตกหกล้มจากการเสียดุลยภาพในการทรงตัว เช่น การแนะนําให้พักอาศัยอยู่ชั้นล่างของที่พักอาศัย เพื่อลดการขึ้นลงบันได ลดการทํางานหนักๆ เป็นต้น
The purposes of this research were to investigate pain, stiffness, function of joint, and balance and the relationships between balance and knee osteoarthritis (pain, stiffness, function of joint) among community-dwelling elderly people with knee osteoarthritis at Bangsaothong district, Samutprakarn state. Subjects (128 elderly peoples with knee osteoarthritis conditions.) were selected by accidental sampling methods. The instrument used for this study were Berg Balance Test and Thai modified WOMAC (Western Ontario and McMaster University). Data were analyzed for Mean,Percentile, Standard Deviation, Pearson Product’s Moment Correlation Coefficient. Major result of this study were as follow: 128 persons of knee osteoarthritis conditions is 13.36 percent of total elderly people in Bangsaothong municipal district, Samutprakarn province are female (77.30 percent) and male (22.70 percent) had a normal BMI (18.5-22.9 Kg./m2)(32.00 percent), primary school graduates (71.10 percent), marital status to widow (42.20 percent), non vocational (52.30 percent), live downstairs in them house (71.10 percent), defecate by the toilet seat (50.40 percent), sitting suspended of leg (57.00 percent), and exercise daily were 42.2 percent.The pain severity found that mild (63.37 percent), moderate (24.75 percent), severe (11.88 percent) respectively. The stiffness symptoms of knee were mild (54.95 percent), moderate (34.06 percent), severe (10.99 percent) respectively, and the ability to use knee joint were that mild (67.70 percent), moderate (22.92 percent), severe (9.38 percent) respectively. Severity of knee osteoarthritis showed that 67.20 percent with less than pain osteoarthritis symptom, 24.20 percent were moderate osteoarthritis symptom and 8.60 percent severe problem of knee joint. The balance was 76.60 percent with a good balance as less chance of falls, 15.60 percent chance the moderate falls. And 7.80 percent, the balance is not good referred risk of falls. The level of function of knee joint ability are moderate relationship with balance level as the level of statistics significance at the .05 (r=.582) and lower levels of pain were relationship with balance as a significantly statistical level of .05 (r=.261). But stiffness was not related to balance.Suggest to elderly with knee osteoarthritis conditions at Bangsaothong municipal district should be instructed on activities for release joint, stiffness and promote to ability of knee joint function for preventing to fall such as stay on the ground floor of the residence and reduce work so hard.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1088
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winthanyou-Bunthan.pdf887.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.