Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนภาพร แก้วนิมิตชัย-
dc.contributor.authorพรศิริ พันธสี-
dc.contributor.authorNapaporn Kaewnimitchai-
dc.contributor.authorPornsiri Pantasri-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2023-01-25T09:16:26Z-
dc.date.available2023-01-25T09:16:26Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1100-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการศึกษาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านนโยบายหรือเป้าหมายของสถาบัน เนื้อหาวิชา การวางแผนการสอน วิธีการสอนและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล อุปกรณ์การสอน สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนและสถานภาพของผู้สอน ประชากร คือ อาจารย์ที่สอนวิชาการพยาบาลพื้นฐานหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 53 คน และประมวลการสอนรายวิชา จำนวน 18 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชุด ได้แก่ คู่มือการวิเคราะห์ประมวลการสอน แบบสัมภาษณ์สภาพปัจจุบันและแบบสอบถามปัญหาในการจัดการศึกษาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหาวิชา ได้แก่ ความเพียงพอของเนื้อหา ความเหมาะสมของเนื้อหากับจำนวนหน่วยกิต ความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย การเรียงลำดับจากง่ายไปยาก และความสอดคล้องระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้สอนมีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาที่เกิดขึ้นจริงมีในปริมาณมาก 2. การวางแผนการสอน โดยส่วนรวมปริมาณที่เกิดขึ้นจริงอยู่ในปริมาณพอควร ส่วนด้านที่เกิดขึ้นในปริมาณน้อย คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการสอนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และนักศึกษา 3. วิธีการสอน และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่วนใหญ่ใช้การบรรยาย การสาธิต การประชุมปรึกษา โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน มีการปฐมนิเทศและชี้แจงเกณฑ์การประเมินผลทุกครั้งก่อนการฝึกปฏิบัติงาน และโดยส่วนรวมพบว่ามีปริมาณที่เกิดขึ้นจริงในปริมาณมาก ส่วนด้านที่มีปริมาณเกิดขึ้นพอสมควร คือ นักศึกษามีเวลาศึกษาผู้ป่วยล่วงหน้าก่อนการฝึกปฏิบัติงาน 4. การวัดและประเมินผลการสอน โดยส่วนรวมพบว่า ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความแน่นอน ชัดเจน ยุติธรรม เกิดขึ้นในปริมาณมาก ส่วนด้านที่เกิดขึ้นจริงในปริมาณน้อย คือ การเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลในภาคทฤษฎี 5. อุปกรณ์การสอนที่ใช้กันมาก ได้แก่ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ วีดีทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบันทึกทางการพยาบาล อุปกรณ์มีความหลากหลาย ทันสมัย และมีปริมาณ เพียงพอพอสมควร 6. สภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน มีความเหมาะสมมากต่อการเรียนการสอน และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 7. สถานภาพของผู้สอน พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีประสบการณ์ด้านการพยาบาลอายุรกรรม-ศัลยกรรม และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพยาบาล มีความพึงพอใจในการสอนวิชาการพยาบาลพื้นฐาน รวมทั้งปริมาณที่เกิดขึ้นมากในผู้สอน 3 อันดับแรก คือ ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอน มีทัศนคติที่ดีต่อการสอนวิชานี้ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล 8. ปัญหาการจัดการศึกษาวิชาการพยาบาลพื้นฐานทั้ง 8 องค์ประกอบ พบว่า มีปริมาณปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย โดยองค์ประกอบด้านนโยบายหรือเป้าหมายของสถาบันเป็นองค์ประกอบที่มีคะแนนความเป็นปัญหามากที่สุด (P=5.47) จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะการพัฒนาการจัดการศึกษาวิชาการพยาบาลพื้นฐานทั้งในระดับผูู้บริหารสถานศึกษาและระดับผู้สอนth
dc.description.abstractThe purposes of this study are to study the problems in instructional management of fundamental nursing in private higher education institution. The areas of study include the policy or goal of the institutions, content, planning, teaching methods and learning experiences, measurement and evaluation, instructional media, instructional environmental and status of instructors. The research population consist of 53 fundamental nursing instructors who are involved in the implementation of nursing science curriculum. In addition, 18 fundamental nursing course syllabus and analyzed. Three instruments are used for collecting data; a guideline for the analysis of course syllabus, an interview guideline for assessing current status and a questionnaire regarding to problems in management of fundamental nursing education. To analyze the data by using frequencies, percentage, mean and standard deviation. The finding are as follows: 1. The instructor's opinion about the existing theroretical content in the high level are; they are enough to study, appropriate to the credit, congruent to the objective, the sequence of content running from ease to difficulty and the theory is congruent to practice. 2. The existing instructional planning are mostly in the moderate level. The participation in the practicum of the instructional planning of the registered nurses and the students are in the low level. 3. Teaching method and learning experience mostly use in fundamental nursing instruction are lecture, demonstration, discussion by concerning the objectibe of instruction. There are orientation about the course and the critical of evaluation before clinical nursing practice and there are mostly existing in the high level. The student time for study the patients before clinical nursing practice is existing in moderate level. 4. Instructional measurement and evaluation of theory and practice in fundamental nursing are accuracy, clearness and justice. They are mostly existing in the high level. 5. There are many instructional medias that are enough to use, all of them are different and are up to date. The instructional media widely used are overhead-projector, video, patient charts and nurses' note. 6. The classroom and the ward environment are considered in much appropriate for teaching and learning experiences. 7. Concering the status of fundamental nursing instructors, they are found that the majority of instructors are more than 40 years old. have medical surgical nursing experiences, and hold Master's Degree mostly majored in nursing. They are satisfied in teaching the fundamental nuraing. The three-first priorities concerning the instructor are self confident in teaching, good attitude to teaching and good relationship to nursing service personnel. 8. The fundamental nursing education management problems in all 8 elements are at the "rather low" level. The most educational management problem is the policy or goal of the institution. (P=5.47). From the results, the researchers suggest to develop fundamental nursing management for institutional administration and for instructors.-
dc.language.isothth
dc.subjectพยาบาล -- การศึกษาและการสอน-
dc.subjectNursing -- Study and teaching-
dc.subjectPrivate universities and colleges-
dc.titleการศึกษาปัญหาในการจัดการศึกษาวิชาการพยาบาลพื้นฐานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนth
dc.title.alternativeA Study of Problems in Instructional Management of Fundamental in Private Higher Education Institutionsth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf388.03 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf362.63 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf399.29 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf312.59 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf430.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.