Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/112
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีนิสัยอุตสาหกรรมของลูกจ้างแรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
Other Titles: | Factors Effecting Industrial Habits of Labours in Industries in Bangpakong, Chacherngsao Province |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya ธวัชชัย ผ่องสุภาพ Thawatchai Pongsupap Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | แรงงานสัมพันธ์ แรงงาน อุตสาหกรรม -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา จิตวิทยาอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการทราบถึงลักษณะทางจิต ที่มีผลต่อการมีนิสัยอุตสาหกรรม สำหรับบุคคลที่ทำงานภาคอุตสาหกรรมในเขตอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของสถานประกอบการในเขตอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำงานทั้งในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยจัดแบ่งเป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวน 296 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรดแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว มีการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีรายได้อยู่ในระดับ 5,001-8,000 บาท ลักษณะงานที่ทำเป็นระดับผู้ปฏิบัติงานผลิต มีประสบการณ์ในการทำงาน 4-6 ปี อยู่ในสถานประกอบการขนาดกลาง และสถานประกอบการอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าบางปะกง ผลการวิจัยลักษณะนิสัยอุตสาหกรรม จำนวน 5 ลักษณะ พบว่า พนักงานมีความซื่อสัตย์สูง ซึ่งพนักงานที่มีความซื่อสัตย์สูง จะเป็นพนักงานที่มีอายุสูง ความรับผิดชอบ พนักงานจะมีความรับผิดชอบสูง โดยพนักงานที่มีความรับผิดชอบสูงจะเป็นพนักงานที่มีอายุมาก มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ขึ้นไป พนักงานที่มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้จัดการแผนก/ฝ่าย ลักษณะงานเป็นระดับการจัดการและวางแผนการปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ความอดทน พบว่า พนักงานมีความอดทนค่อนข้างสูง โดยไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกโดยตัวแปรต่าง ๆ ความขยัน พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (ขยัน) ระดับปานกลาง โดยพนักงานที่มีความมุ่งมันในการทำงานจะมีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป มีลักษณะงานระดับการจัดการ และการวางแผนปฏิบัติงาน ส่วนการตรงต่อเวลา พบว่าพนักงานมีความตรงต่อเวลา โดยไม่มีความแตกต่างเมื่อจำแนกโดยตัวแปรต่าง ๆ ผลการวิจัยซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งผลการวิจัยเป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะทางจิต จำนวน 4 ลักษณะ ได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การมุ่งอนาคต และการควบคุมตนเอง ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ ลักษณะนิสัยอุตสาหกรรม จำนวน 5 ลักษณะ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความขยันและการตรงต่อเวลา กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางจิต ด้านทัศนคติต่อการทำงานที่ดีนั้น พบว่า เป็นพนักงานที่เป็นเพศชาย อายุมาก มีรายได้สูง มีตำแหน่งหน้าที่ในระดับสูง มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 4-11 ปี อยู่ในระดับการจัดการและวางแผนการปฏิบัติงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการขนาดกลาง ลักษณะทางจิตด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มแรงงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงเป็นเพศชาย การมุ่งอนาคต พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มที่มีการมุ่งอนาคตสูงจะเป็นพนักงานที่มีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูง คือระดับผู้จัดการแผนก/ฝ่าย มีลักษณะงานระดับการจัดการและการวางแผนปฏิบัติงาน ส่วนการควบคุมตนเอง ผลการวิจัย พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง พนักงานที่มีรายได้สูงจะมีการควบคุมตนเองสูง ผลการวิเคราะห์ลักษณะทางจิตต่อการมีนิสัยอุตสาหกรรม พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ ได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การมุ่งอนาคต และการควบคุมตนเอง ปัจจัยมีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบ และความอดทนได้แก่ทัศนคติต่อการทำงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความขยัน ได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการมุ่งอนาคต ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรงต่อเวลาได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จากผลการวิจัย พบว่า ลักษณะทางจิต ซึ่งได้แก่ ทัศนคติต่อการทำงาน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีนิสัยอุตสาหกรรมทุกลักษณะของนิสัยอุตสาหกรรมซึ่งผลการวิจัย ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กร คือการสร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงาน หรือสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับพนักงาน ด้วยการสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน ได้แก่ การมีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน การปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทอย่างเคร่งครัดทุกระดับชั้นของพนักงาน การประเมินผลการทำงานของพนักงานด้วยความเป็นธรรม การสร้างความเสมอภาคให้กับพนักงาน การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม แสดงข้อมูลที่เป็นจริงของการประกอบการ อีกทั้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่แสดงผลของความเคารพศรัทธาที่พนักงานมีต่อองค์กร หากพนักงานมีความเชื่อมั่น หรือทัศนคติที่ดีในการบริหารของผู้บริหารจะให้องค์กรบรรลุถึงวัตถุประสงค์โดยองค์รวมของนิสัยอุตสาหกรรม The researcher on this study is desirous of the mental Characteristics effecting to the industrial habits for persons working in the industrial sectors, in the district of Bangprakong, Chacherngsao Province. The samples were employees of the factories in the area of of Bangprakong, Chacherngsao Province., located in both inside the industrial estate and outside the industrial estate. Those were classified into small enterprises, medium enterprises and large enterprises, totally 296 persons. Data was collected by questionnaires and conducting the analysis by using the computer software program SPSS/PC+. Statistics used was mean, oneway analysis of variance, coefficient correlation and multiple regression The result of the study revealed that most of samples were female, aged between 21-30 years, and mostly were married. Most of them graduate form higher secondary schools or higher vocational schools, having incomes in the range of 5,001-8,00 baht, types of work in the level of workers in production lines, with experience of 4-6 years. Working with the medium-sized enterprises and located in the Bangprakong Electricity industrial Estate. The results of the study would be presented in 2 parts, the study on the mental characteristics of workers and the industrial habits of workers, Mental characteristics studied included work attitude, future orientation trait, motive of achievement and self control. The results revealed that the samples had positive work attitudes, moderately high in motive of achievement, future orientation trait and self control. Industrial habits studied included honesty, patience, diligence, responsibility , and punctuality. The results show that the samples were highly honest, and punctual, moderately high responsible and patient and fairly diligent. On the study of factors of mental characteristics which were effecting industrial habits of workers, it’s found that ; factors effecting honesty were work attitude, motive of achievement, future orientation trait and self-control. Factors effecting the responsibility were work attitude, motive of achievement and future orientation trait. Factors effecting the patience were work attitude, motive of achievement. Factors effecting the diligence were work attitude, motive of achievement and the future orientation trait. Factor effecting punctuality was motive of achievement. From the results of the study which found that the mental characteristics which were attitude and motive of achievement would be the most effective factors effecting the industrial habits. From this study, the researcher would like to recomment the direction of personnel management for the most benefits of the organization, by building up good attitude to employees or creating the motive on the employees, these are made by creating confidence on the employees, such as setting up a clear-cut working policy, performing the work in accordance with the company regulations and rules strictly, for strictly, for all levels of employees, evaluating the performance of the employees to participate in the decision process in various levels, allowing the employees to participate in the activities, showing facts of business operation information, including working in compliance with labour laws. Those are the main items reflecting the respect or employees’ faith to the organization. If the employees are confident to the work or have positive attitude to the management of the executives. Will help the organization to achieve its common goal of industrial habits. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/112 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 4.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 269.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 711.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 456.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.