Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1192
Title: การปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำ ดินตะกอน และปลาสลิดในบ่อเลี้ยงปลาสลิด ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวังสมุทรปราการ
Other Titles: Heavy Metal Contamination in Water, Sediment and Snakeskin gourami (Trichogaster pectoralis) in Fish Pond at Klongdan Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province
Authors: สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา
เกษม พลายแก้ว
ชัชวาลย์ ช่างทำ
กรรณิการ์ แก้วกิ้ม
อัจจนา ขำทิพย์
นันท์นภัส ลายทิพย์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: การปนเปื้อนในอาหาร
Food contamination
โลหะหนัก
Heavy metals
ปลาสลิด -- การเลี้ยง
Snakeskin gourami
บางบ่อ (สมุทรปราการ)
Bang Bo (Samut Prakarn)
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาปริมาณโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงสามชนิด ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ในตัวอย่าง น้ำ ดิน ตะกอน และปลาสลิด โดยวิธีการเลี้ยงปลาสลิดแบบผสมผสานจำนวน 30 ตัวอย่าง และวิธีเลี้ยงแบบภูมิปัญญาจำนวน 4 ตัวอย่าง ทำการเก็บตัวอย่างเป็นเวลา 7 เดือน ในช่วงเดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 โดยสำหรับการตรวจวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วและแคดเมียมใช้เทคนิค Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GF-AAS) และการตรวจวิเคราะห์ปริมาณปรอทใช้เทคนิค Cold Vapor Atomic Absorption Spectrometry (Cold Vapor AAS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบสถิติของข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Kruskal-Wallis test และ Mann-Whitney U test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p=<0.05) จากผลการวิเคราะห์พบว่าทั้ง 34 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนของตะกั่วในน้ำ เครื่องในปลา และดินตะกอนที่ปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดที่ 0.0054 ppm 0.1511 ppm และ 0.0173 ppm ตามลำดับ ในส่วนเนื้อปลาสลิดพบการปนเปื้อน 10 ตัวอย่างที่ปริมาณการปนเปื้อนสูงสุด คอ 0.0838 ppm พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในน้ำ เครื่องในปลา และดินตะกอน มีปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดที่ 0.0085 ppm 0.0124 ppm และ 0.0018 ppm ตามลำดับ ส่วนในเนื้อปลาไม่พบการปนเปื้อนของแคดเมียม สำหรับปรอทไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ จากผลการศึกษาพบว่า ปริมาณของโลหะหนักที่พบในน้ำ เนื้อปลา และดินตะกอนทั้งบ่อแบบผสมผสาน และบ่อแบบภูมิปัญญามีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่ในเครื่องในปลามีปริมาณของตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน การเปรียบเทียบปริมาณโลหะหนัก 3 ชนิด จากวิธีการเลี้ยงจากบ่อแบบผสมผสานและบ่อแบบภูมิปัญญา พบว่าในน้ำ เนื้อปลา และเครื่องในปลาที่เลี้่ยงแบบผสมผสานกับแบบภูมิปัญญาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า วิธีการเลี้ยงปลาสลิดจึงไม่มีผลต่อปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักและคุณภาพของเนื้อปลาสลิด ในตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคได้
This study aims to quantitatively determine hazardous heavy metals, which are lead (Pb), cadmium (Cd) and mercury (Hg) in 30 samples of Integrated fish farming and 4 indigenous knowledge farming in water, sediment, tissues and gut of snakeskin gourami (Trichogaster pectoralis) from Klongdan Sub-district, Bang Bo District, Samut Prakan Province. The sampling were carried out for 7 months between January and July 2014. The amount of Pb and Cd were determined by Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GF-AAS) technique while the amount of Hg was determined by Cold Vapor Atomic Absorption Spectrometry (Cold Vapor AAS) technique. Statistical analysis was carried out with Kruskal-Wallis test and Mann-Whitney U test and a reliability interval of 95% (p < 0.05). The result found that 34 samples were Lead contamination in water, gutfishes and sediment. The highest Lead concentrations in water, gut fishes and sediment at 0.0054 ppm, 0.1511 ppm and 0.0173 ppm respectively. The tissues of snakeskin gourami found 10 samples were contamination in the highest concentration at 0.0838 ppm. It was found that Cadmium concentration in water, gut fishes and sediment in the highest concentration at 0.0085 ppm, 0.0124 ppm, 0.0018 ppm respectively. There has no found Cadmium contamination in tissues fishes. Mercury contamination has no found in the entire of samples. The result show that the amount of three heavy metals in water, tissue of fishes and sediment in indigenous knowledge farming and integrated fish farming are lower than the standard level but gut of fishes are higher than the standard level. Comparison of indigenous knowledge farming and integrated fish farming found that the amount of three heavy metals in water, tissues and gut of fishes and sediment in indigenous knowledge farming and integrated fish farming are not differ. Therefore, farming methods not effect to heavy metal contamination and the quality of snake skinned gourami fishes at Klongdan Sub-district, Bang Bo District is safe for consumption.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1192
Appears in Collections:Science and Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureeporn-Homvisasevongsa.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.