Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/120
Title: ความพึงพอใจของผู้ป่วยสูงอายุต่อการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Elderly Patients' Satisfaction of Government Hospital and Private Hospital Services in Bangkok Metropolitan
Authors: สุภรัฐ หงษ์มณี
บังอร เอื้อปกรณ์กุล
Keywords: ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วย -- การดูแล
ความพอใจ
Older people
Patients -- Care
Satisfaction
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้ป่วยสูงอายุที่มีต่อการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบการสำรวจ (Survey Method) ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล และใช้การเก็บข้อมูลเพียงครั้ง (One-Shot Case Study) ใช้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 240 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มารับบริการจากโรงพยาบาลรัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 70-79 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยโดยอยู่บ้านไม่ได้ทำงาน และไม่มีรายได้ นับถือศาสนาพุทธ การเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวกดี และ เป็นผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่มารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 70-79 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นผู้ที่มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน อยู่บ้านไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้ ส่วนใหญ่จะพักอยู่รวมครอบครัวใหญ่ นับถือพุทธศาสนา การเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวกดีเป็นผู้เจ็บป่วยเรื้อรังความพึงพอใจที่ผู้สูงอายุมีการต่อการให้บริการจากโรงพยาบาลรัฐเรียงตามลำดับความสำคัญพบว่า ผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจด้านค่าใช้จ่ายมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านอุปกรณ์เครื่องมือ ด้านการให้บริการของแพทย์ ด้านสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล ด้านการประสานงานของพยาบาล และน้อยที่สุดคือ ด้านการให้ความสนใจของเจ้าหน้าที่ความพึงพอใจที่ผู้สูงอายุมีต่อการให้บริการจากโรงพยาบาลเอกชนเรียงลำดับความสำคัญพบว่า ผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจในด้านการให้บริการของแพทย์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านอุปกรณ์เครื่องมือ ด้านการให้ความสนใจของเจ้าหน้าที่ ด้านสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล ด้านการประสานงานของพยาบาล และน้อยที่สุดคือด้านค่าใช้จ่ายปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอาชีพ ลักษณะการอยู่อาศัย และศาสนา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจจากการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการของแพทย์ ด้านการประสานงานของพยาบาล ด้านการให้ความสนใจของเจ้าหน้าที่ ด้านสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล ด้านอุปกรณ์เครื่องมือ และด้านค่าใช้จ่ายในการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ลักษณะการเดินทาง และปัญหาสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจจากการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเฉพาะด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลรัฐเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการในทุกด้านเพื่อให้เหมาะสมกับการให้บริการสวัสดิการสังคมตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันสุขภาพของโรงพยาบาล อีกทั้งให้ตระหนักถึงงานบริการทางการแพทย์ในบุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐเพิ่มขึ้น ส่วนโรงพยาบาลเอกชนควรเร่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายโดยตรงให้เกิดความสนใจด้วยการนำเสนอโครงการที่เน้นการประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการบริการให้ได้มาตรฐานคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลโดยเร็ว ซึ่งระบบบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพซึ่งมีหน้าที่ให้หลักประกันแก่สังคมว่าจะให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความเท่าเทียมกัน
The objectives of the thesis, “Elderly patients' satisfaction of government hospital and private hospital services in Bangkok metropolitan, “ were to study satisfaction of elderly patients o n the services of Public Hospital and Private Hospital in Bangkok Metropolitan, and personal factors affecting their satisfactions. The study was quantitative type research using data obtained from questionnaires of one-short survey from the sample size of 240 Patients. The result of the study showed that most of the elderly patients from the sample being serviced at the public hospitals were women 70-79 years old, primary level education, married and lived with their spouses, staying at home, an income, being Buddhist, be able to go to hospitals conveniently, and being permanent patients. Most of the elderly patients from the sample being serviced at the private hospitals were women 70-79 years old, primary level education, married and lived with their spouses, staying at home, and income being Buddhist, Be able to go to hospitals conveniently, and bring permanent patients. The satisfactions of the elderly patients being serviced in public hospitals were as the following: expenses, equipment, medical services, hospital environment, nurses’ co-operations, and the willingness to service of personnel as the least satisfaction. The satisfactions of the elderly patients being serviced in private hospitals were as follows: medical services, equipment, service attention of personnel, hospital environment, nurses’ co-operations, and expenses as the least satisfaction. The personal factors-such as career, living condition, and religion-correlated with patients’s satisfactions at 0.05 significance level both in public and private hospitals concerning doctors’ services, nurses’ nurses’ co-operations, personnel’s attention, hospitals’ environment, equipment, and patients’ expenses. Other personal factors-such as sex, age, education, marital status, income, travelling convenience, and health problem-correlated with patients’ satisfactions at 0.05 significance level on certain cases. From the study, the recommendations were as the following, For public hospital: since patients’s satisfaction on services of personnel was low, there should improve realization on the importance of their services. For private hospital: since patient’s’ satisfaction on services’s expense was low, there should lower service charges to reasonable prices.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/120
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf417.34 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf461.42 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf320.58 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf818.9 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf267.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.