Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1204
Title: การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด
Other Titles: Development of Continuing Care Model for Hemorrhoidectomy Patients
Authors: หทัยชนก บัวเจริญ
รัชนี นามจันทรา
Hathaichanok Buajaroen
Rachanee Namjantra
เฉลิมขวัญ คล้ายมาลา
Chalermkwan Klaimala
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การดูแลแบบต่อเนื่อง
Continuum of care.
ริดสีดวงทวารหนัก -- ศัลยกรรม
Hemorrhoids -- Surgery
การดูแลก่อนศัลยกรรม
Preoperative care
การดูแลหลังศัลยกรรม
Postoperative care
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริการรักษาพยาบาล ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาล และระยะหลังผ่าตัดที่บ้านจนมาตรวจต่อเนื่องที่โรงพยาบาล วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด สถานที่ศึกษา คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม การดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน 1) ใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาสภาพการณ์การบริการรักษาพยาบาล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม 2) วิเคราะห์แนวทางการดูแลต่อเนื่องจากข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม 3) สังเคราะห์รูปแบบการดูแลต่อเนื่องและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้ให้บริการ จำนวน 9 ราย และผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด จำนวน 8 ราย ผลการศึกษาปรากฏดังนี้1. สภาพการณ์การบริการรักษาพยาบาลผู้ปวยโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด พบว่า มีรูปแบบการดูแลต่อเนื่อง 2 รูปแบบ คือ รูปแบบนอนก่อน 1 วัน และรูปแบบนอนโรงพยาบาลวันเดียว ส่วนปัญหาระบบบริการ พบปัญหาการประเมิน การเตรียมความพร้อม การให้ข้อมูลความรู้ และการสื่อสารในทุกระยะของระบบริการ และปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ระยะก่อนผ่าตัด พบปัญหาการไม่รู้เรื่องโรคและการรักษา คุณภาพชีวิตไม่ดี การตีดสินใจมารักษา ไม่รู้เรื่องการผ่าตัด พบปัญากลัวเจ็บ และไม่สุขสบายจากนอนคว่ำระยะหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาล พบปัญหาปวดแผบ กลัว ปัสสาวะลำบาก ไม่รู้ถึงการดูแลตนเองหลังผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดที่บ้านจนมาตรวจต่อเนื่องที่โรงพยาบาล พบปัญหาไม่มีความรู้ไม่สะดวกสบาย กลัว และไม่ต้องการกลับมาเป็นอีก 2. แนวทางการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด เสนอ 10 แนวทาง ได้แก่ ระยะก่อนผ่าตัด 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางการรับผู้ป่วยใหม่ 2) แนวทางการประเมินผู้ป่วยแรกรักบ 3) แนวทางการเตรียมผู้ป่วยตรวจทวารหนัก 4) แนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด 1 แนวทาง คือ 5) แนวทางการดูแลผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาล 2 แนวทาง คือ 6) แนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด 7) แนวทางการจำหน่ายผู้ป่วย ระยะหลังผ่าตัดที่บ้าน 1 แนวทาง คือ 8) แนวทางการติดตามต่อเนื่องที่บ้าน ระยะหลังผ่าตัดที่บ้านจนมาตรวจต่อเนื่องที่โรงพยาบาล 1 แนวทาง คือ 9) แนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และสำหรับทุกระยะ 1 แนวทาง คือ 10) แนวทางการสื่อสารข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ 3. รูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับโรคริดสีดวงทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ที่ได้มี 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการดูแลต่อเนื่องแบบนอนโรงพยาบาลวันเดียว เน้นการจัดการโดยพยาบาลเจ้าของไข้ 2) รูปแบบการดูแลต่อเนื่องแบบนอนก่อน 1 วัน เน้นการจัดการโดยพยาบาลดูแลผู้ป่วยรายกรณีเป็นทีม และ 3) รูปแบบการดูแลต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เน้นการจัดการ โดยพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วย
The purposes of this research were 1) to study the situation of healthcare service for hemorrhoidectomy patients, 2) to analyze the guidelines for solving and meeting the patients' problems and needs, and 3) to develop the continuing care model for the patients. The study was done at the King Chulalongkorn Memorial Hospital and investigated through the stage of pre-operative, intra-operative, post-operative, and follow-up. Participatory research was used as a research methodology and conducted through 3 phases. Firsty, the situation of healthcare service was investigate by qualitative method. Indepth interview, participatory observation and non-participatory observation were used in data collection process. Secondly, the guideline for continuing care were analyzed by using the data from the first phase as well as literature reviewed. Finally the continuing care model were synthesized. The participants of the study consisted of 9 healthcare providers and 8 clients who had received hemorrhoidectomy. The results of the study were: 1. The current healthcare service for hemorrhoidectomy patients has two models: Admitted Model and One Day Surgery Model. The problems of the healthcare service were found in all stages of health assessment, client's preparation for surgery, providing health education and information and communication. Pre-operative problems and needs were don't know about the disease and treatment, poor quality of life, delay receiving treatment, don't know how to prepare self. Intra-operative problems and needs were fear, pain and discomfort. Post-operative problems and needs were pain, fear, dysuria, don't know how to care for self. For the follow-up stage, the problems and needs were don't know how to care for self, discomfort, fear, and don't want to be again. 2. Ten guidelines for contunuing care were proposes: four guidelines for pre-operative stage which are 1) Guideline for new patient, 2) Guideline for initial assessment, 3) Guideline for preparing rectal examination, 4) Guideline for pre-operative preparation; one guideline for intra-operative stage which is 5) Guideline for intra-operative care ; two guidelines for post-operative stage which are 6) Guideline for post-operative care, 7) Guideline for discharge; one guideline for post-operative at home which is 8) Guideline for continuing care at home; one guideline for follow-up stage which is 9) Guideline for recurrent prevention ; and one guideline for every stage which is 10) Guideline for efficiecny communication. 3. Three continuing care models for hemorrhoidectomy patients were developed: 1) One Day Surgery Model managed by primary nurse, 2) Admitted Day Model managed by nursing care management team, and 3) Same Day Surgery managed by nurse case manager.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย. ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1204
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf378.9 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf189.25 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf544.72 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf880.8 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf865.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.