Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1244
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Factors Affected Learning Achievement of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University
Authors: ฉัตรปวีณ์ จรัสวราวัฒน์
Chatpawee Jarachavarawat
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University -- Students
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Academic achievement
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สถานภาพทางสังคม แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิได้เท่ากับ 0.58 และความน่าเชื่อถือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบรัค เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2548 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในช่วงแต้มเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.50-3.25 ขึ้นไป พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศหญิง อายุ <= 20 ปี รายได้เพียงพอต่อรายจ่ายการพักอาศัยอยู่กับเพื่อน การมีเพื่อนขยันเรียนปานกลาง การมีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ดี การมีมารดาเอาใจใส่ต่อการเรียน การดื่มเครื่องดื่มแอกลอฮอล์เวลามีงานสังสรรค์เป็นบางครั้ง ไม่มีเพื่อนสนิทคนในสูบบุหรี่ และการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นบางครั้งมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในทุกช่วงแต้มเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ร้อยละ 39.0 ขึ้นไป 2) ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละช่วงแต้มเฉลี่ยสะสม 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ ความพร้อมในการเรียน แรงจูงใจ การเชื่อมโยงการเรียนรู้ การรับรู้ ความจำ ความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในทุกช่วงแต้มเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ ร้อยละ 33.0 ขึ้นไป ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีนัยศึกษาทางสถิติ p<0.05 2) สถานภาพทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญสถิติ p<0.05 3) แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลายมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01, r=0.451 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ได้แก่ ความพร้อมในการเรียน ประกอบด้วย มีสมาธิระหว่างที่เรียน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมระหว่างที่เรียน และการอ่านทบทวนหลังเลิกเรียน โดยมีค่า p=0.013, p=0.033 และ p=0.037 ตามลำดับ การรับรู้ ประกอบด้วย การกล้าซักถามอาจารย์ผู้สอนในระหว่างที่เรียน โดยมีค่า p=0.006 ความจำ ประกอบด้วย การสอนในลักษณะที่มีรูปภาพประกอบ การสอนในลักษณที่มีการยกตัวอย่างประกอบ การสอนในลักษณะที่มีการทดสอบและเฉลยคำตอบบ่อยๆ การอ่านหนังสือโดยอาศัยความเข้าใจก่อนสอบ การอ่านหนังสือแบบอ่านบ่อยๆ ก่อนสอบ และการอ่านหนังสือโดยการทบทวนระยะก่อนสอบ โดยมีค่า p=0.019, p=0.001, p=0.046, p=0.001, p=0.016 และ p=0.040 ตามลำดับ ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย เวลามีปัญหาด้านการเรียนสามารถแก้ไขได้โดยไม่กระทบต่อคนรอบข้าง โดยมีค่า p=0.030 และจำนวนวิชาที่เรียนพบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยมากเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05, r=0.176 ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นในกลุ่มนักศึกษาที่มีแต้มเฉลี่ยในระดับต่ำถึงระดับต่ำมาก ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสอนของอาจารย์ เช่น การสอนที่มีรูปภาพประกอบ การยกตัวอย่างประกอบ การทดสอบและเฉลยคำตอบบ่อยๆ ในห้องเรียน นอกจากนี้ควรวิเคราะห์ถึงผลการประเมินการสอนอาจารย์จากนักศึกษากับแต้มเฉลี่ยสะสมด้วย
The study aimed to study the relationships between personal factors, the learning of upper secondary schools data and factors affected learning achievement of the first year students at Huachiew Chalermprakiet University. This hypothesis were to study the relationships between socioeconomic, social status, cumulative grade point average of upper secondary school and factors affected learning achievement of the first year students at Huachiew Chalermprakiet University. The sample of study consisted of 207 students. The tool used in the research was the questionnaire developed by the researcher. A group of experts had determined the content validity of the questionnaire before it was 0.58 and used the Conbrach Alpha Coefficient of 0.81 was found for its Reliability. Data were analyzed by using frequency, percentages, mean, chi-square test and pearson's correlation coefficient. The result of these study were the first year students of learning yearly 2005 at Huachiew Chalermprkiet University which were cumulative grade point avergage (GPA) between 1.50 to upper 3.25 as follow: 1) The personal factors were female, <= 20 years old, income enough with expense stayed with friend, had friend to learn in moderate level, had interrelationship family well, had mather which intent to learn, sometimes to drink alcohol, no friendshipe to smoke and sometimes to participate in the activity students which found to had relationships with the learning achievement in all period cumulative grade point average since upper 39 percent. 2) The learning of upper secondary school data found to no relationship with learning achievement in all period cumulative grade point average. 3) The factors affected learning achievement found to no relationship with the learning achievement in all period cumulative grade point average. The result of hypothesis were as follow : 1) The socioeconomic and social status had no statistically significant relationships with the learning achievement at level of 0.05. 2) The cumulative grage point average had a statistically significant positive correlation with learning achievement in the lowest level (r=0.451), 3) The factors affected learning had a statistically significance with the learning achievement at the level of 0.05 as follow: Readiness composed of had the concentration in classroom (p=0.013) added lecture in classroom (p=0.033), read and reviewed after hour of teaching (p=0.037). The perception was composed of asked teacher in hour of teaching p=0.006. The remembering of teaching were composed of picures (p=0.019), examples (p=0.001), usually tested and answered (p=0.046), read books by understanding (p=0.001), often read books (p=0.016), read and reviewed in the time of past subjects (p=0.040). The creativity compose of able to solve of problem by no effect somebody (p=0.030). Finally the subject number had a statistically significant positive correlation with learning achievement in low level (r=0.176). The suggestion of these study were increase study in low and lowest GPA level of student at Huachiew Chalermprakiet University about relationship between teaching model of teachers such as composed of pictures, examples, usually tested and andwered in classroom. Besides were analysed to result of assessment's teachers from many students with GPA.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1244
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf124.08 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf99.6 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf149.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf382.09 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf192.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf544.44 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf224.7 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf518.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.