Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/125
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นภาพร แก้วนิมิตรชัย | - |
dc.contributor.advisor | วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย | - |
dc.contributor.advisor | Napaporn Kaewnimitchai | - |
dc.contributor.advisor | Vanida Durongrittichai | - |
dc.contributor.author | นิชาภา โพธาเจริญ | - |
dc.contributor.author | Nichapa Phothacharoen | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-23T10:11:35Z | - |
dc.date.available | 2022-04-23T10:11:35Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/125 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วนในชุมชนอรุณนิเวศน์ แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในชุมชน 2)การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วนและ 3) ศึกษาผลของการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ที่เป็นโรคอ้วน สมาชิกในครอบครัว พยาบาลหน่วยปฐมภูมิและคณะกรรมการชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ Fisher's exact test, Paired T-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลักษณะงานที่ทำในแต่ละวันของผู้ที่เป็นโรคอ้วน การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1)สร้างตระหนักต่อสาเหตุของโรคอ้วนโดยการนำของหน่วยบริการและร่วมโดยชุมชน 2) ชุมชนร่วมจิต หน่วยบริการช่วยคิดแนวทางจัดการปัญหาโรคอ้วนในชุมชน 3) ร่วมกันออกแบบและดำเนินกิจกรรมการจัดการโรคอ้วนในชุมชนอย่างจริงจัง รูปแบบเกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ที่เป็นโรคอ้วนระดับน้อย ปานกลางและมากที่มีความพร้อมและตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย สมาชิกในครอบครัวที่พร้อมช่วยเหลือ สนับสนุนและให้กำลังใจผู้เป็นโรคอ้วน บุคลากรสุขภาพที่ตั้งใจ ให้ความสำคัญที่จะดูแลและจัดการปัญหาสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคอ้วน ครอบครัวและชุมชนอย่างจริงจัง มีความสามารถในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการชุมชนที่มุ่งมั่นให้ความสำคัญกับโรคอ้วนและร่วมมือกับบุคลากรสุขภาพ 2) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมต้องเน้นให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองโดยมีจุดหมายเดียวกัน คือ การจัดการโรคอ้วน 3) ลักษณะของกิจกรรมจะต้องเน้นทักษะการกำกับตนเองเรื่องการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ที่เป็นโรคอ้วน การนำประสบการณ์ความสำเร็จของผู้อื่นมาสร้างความรู้สึกเชิงบวกและแรงจูงใจให้ควบคุมตนเอง การให้บุคคลในครอบครัวและคนในชุมชนเป็นแรงสนับสนุนให้คงไว้ซึ่งการควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การร่วมกันสร้างและใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน โดยพยาบาล ผู้เป็นโรคอ้วนและสมาชิกในครอบครัวและการสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่สนับสนุนการคงไว้ซึ่งการออกกำลังกายของผู้เป็นโรคอ้วน ภายหลังการดำเนินงานพบว่า ผู้เป็นโรคอ้วนรับรู้ความสามารถตนเองและปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายถูกต้องเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายเส้นรอบวงเอง อัตราส่วนรอบวงเอวต่อเส้นรอบวงสะโพกและระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | th |
dc.description.abstract | The proposes of this research were to study the creation and the results of models for community participation in the management of obesity in Arunnuiwet community. The study process composed of 3 stages: 1) to study factors related to obesity 2) to create models for community participation in the management of obesity and 3) to study the results of the models for community participation in the management of obesity. The target groups of this study were people who are obese, members of the family, primary care practices and community committee. The data were kept by questionnaires, interview and participant obervation. They were analyzed by descriptive statistic, fisher's exact test, paired T-test and content analysis. The study results showed that the significant factors related to obesity were the differences in the work of those who are obese. The models for community participation in the management of obesity included three phases: 1) raising awareness and sharing ideas of service to the community 2) the pooll efforts of solving obesity problems amongst stakeholders and 3) the coordination effort of all stakeholders to achieve theiir created activities. Pattern formed by three major factors were 1) the involvement of people who are mildly obese, medium and large are ready and willing to change their dietary habits and exercise; assistance, support and encouragement of family members of those who are obese; health personnel who are determined to focus on priority to maintain and manage the health problems of people who are obese, their family and the community seriously; the ability to coordinate with relevant agencies and the community commitment giving priority to obesitu and the health personnel. 2) a process of participation must stress that all parties comply with their duties with the same goal which is the management of obesity and 3) the nature of the self-directed activities must focus on eating and physical activity of people who are obese; the successful experience of others to create a sense of optimism and self-control incentive; the support of family and community to maintain a controlled diet and exercise; the creation and sharing of best practices on how to exercise and consume food; the prevention of complications of obesity by a nurse, who are obese and a family member; and the creation of a community environment that supports maintaining and exerciese for the obese. After the operation, it was found that people who were obese obtained level of self-efficacy in the management of obesity and behavior related to diet and more exercise. The average body mass index, waist circumference, hip circumference, waist-circumference ratio and blood pressure levels have decreased significantly. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | โรคอ้วน -- การป้องกันและควบคุม | th |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของชุมชน | th |
dc.subject | Obesity -- Prevention | - |
dc.subject | Community participation | - |
dc.title | รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วนในชุมชนอรุณนิเวศน์ กรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Community Participation Model for Obesity Management in Arunniwet, Bangkok Metropolitan | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf Restricted Access | 311.06 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter1.pdf Restricted Access | 159.28 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 583.8 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 225.73 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter4.pdf Restricted Access | 825.05 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter5.pdf Restricted Access | 199.81 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Reference.pdf Restricted Access | 833.15 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.