Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1315
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการออกสู่ระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Factors Affecting the Readiness of Personnel toward Autonomous Hospital : Case Studies in Department of Medicine Service Hospital Ministry of Public Health
Authors: ประภาศรี คุปต์กานต์
ดรุณวรรณ สมใจ
Prapasri Kupgan
Darunwan Somjai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ
Public hospital
การปฏิรูประบบราชการ
โรงพยาบาล -- การบริหาร
Hospital administration
บุคลากรโรงพยาบาล
Health personnel
ความพอใจในการทำงาน
Job satisfaction
การเตรียมพร้อม
Preparedness
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมและปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขในการออกสู่ระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของความพร้อม 3 ด้าน คือลักษณะบุคลิกภาพ ด้านความรู้เรื่องระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ จำนวน 262 คน ระหว่าง 15 มีนาคม – 30 พฤษภาคม 2545 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวกับความพร้อมในการปฏิบัติงานและการใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุในการระบุสมการทำนายการเปลี่ยนแปลงความพร้อมในการปฏิบัติงาน ผลการวิจัย พบว่าเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีความพร้อมต่อการออกสู่ระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐในระดับสูง (ร้อยละ 60.7) พิจารณาแต่ละองค์ประกอบพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีความรู้ในเรื่องโรงพยาบาลในกำกับรัฐระดับสูงและมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมต่อการออกสู่ระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐ พบว่า ปัจจัยด้านบุคคลมีเพียงเพศเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.143 ; P=0.02) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน มีเพียงการอบรมที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้ในเรื่องโรงพยาบาลในกำกับรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.174 ; P=0.005) และไม่มีปัจจัยใดที่มีอิทธิพลสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงความพร้อมของเจ้าหน้าที่ ในการออกสู่ระบบโรงพยาบาลในกำกับรัฐ
The objectives of this survey research were to analyze the level of readiness, the factors related to readiness and to indentify factors predicting the readiness of personnel 262 in Department of Medicine Service Hospitals toward autonomous hospital. The readiness of the personnel toward autonomous hospital was considered to compose of three components. There were personality, knowledge regarding the autonomous hospital management and motivation to work. Data were collected by self-administered questionnaires from 15 March-30 May 2002. Descriptive statistic, Pearson product moment correlation coefficient and multiple regression analysis were applied for the data analysis Results showed that the level of personnel readiness, i.e. personality and knowledge of autonomous hospital, was satisfactorily high (about 60.7 %) How ever, a moderated level of work motivation was observed. Detail analysis showed that sex was significantly related to personality (r=0.143 ; P=0.02). Training showed a reverse significance relation with knowledge of autonomous hospital. There were no factors that could predict the readiness of personnel in Department of Medicine Service Hospital.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1315
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf244.89 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf94.16 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf338.26 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf332.14 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf616.23 kBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf343.73 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf609.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.