Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1323
Title: รายงานการวิจัย การศึกษาติดตามการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553
Other Titles: A Follow-up Study of Job Performances and Attributes of the Graduates of Bachelor of The Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University Academic Year 2010
การศึกษาติดตามการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553
Authors: อารีย์ มั่งเกียรติสกุล
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
อรอนงค์ บัวลา
เพ็ญแข แสงโนรี
กนกวรรณ ฉันธนะมงคล
พัฒนา วันฟั่น
สุขจิต ณ นคร
แสงทอง เลิศประเสริฐพงศ์
ดวงใจ ลิมตโสภณ
กนกพร นทีธนสมบัติ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
Keywords: บัณฑิต -- การจ้างงาน
College graduates -- Employment
สมรรถภาพในการทำงาน
Works performance
การมีงานทำ
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ และความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 โดยสำรวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานของบัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ และต่ออัตลักษณ์บัณฑิต ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานและต่ออัตลักษณ์บัณฑิต โดยใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 1) ความพึงพอใจต่อคุณลักษณะบัณฑิต 6 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ ก) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ข) ด้านความรู้ ค) ด้านทักษะทางปัญญา ง) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ จ) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี และ ฉ) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ และ 2) ความพึงพอใจต่ออัตลักษณ์บัณฑิต เก็บรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิต ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานของบัณฑิตในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2555 ได้รับข้อมูลตอบกลับจากบัณฑิตจำนวน 182 คนคิดเป็นร้อยละ 100 จากผู้บังคับบัญชาจำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 40.11 และจากผู้ร่วมงานจำนวน 69 คนคิดเป็นร้อยละ 37.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1. บัณฑิตส่วนใหญ่ร้อยละ 76.50 มีงานทำทันทีภายใน 1 เดือน หลังจากสำเร็จการศึกษาและทำงานในโรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 70.9 2. ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ 3.73, SD 0.71 และ x̄ 3.76, SD 0.73 ตามลำดับ) โดยพึงพอใจด้านคุณธรรม จริยธรรมมากที่สุด (x̄ 3.80, SD 0.68 และ x̄3,86, SD 0.71 ตามลำดับ) คุณลักษณะบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ความสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษทางวิชาชีพได้ (x̄-3.15, SD 0.68 และ x̄3.15, SD 0.73 ตามลำดับ) และความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและการแก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ (x̄3.29, SD0.66 และ x̄3.37, SD 0.66 ตามลำดับ) 3. ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจต่ออัตลักษณ์บัณฑิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄3.94, SD 0.70 และ x̄4.00, SD 0.74 ตามลำดับ) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจ มีความพึงพอใจต่อความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากที่สุด (x̄4.11, SD0.61 และ x̄ 4.14, SD 0.68 ตามลำดับ) ด้านคุณธรรม ผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจบัณฑิตในเรื่องความซื่อสัตย์มากที่สุด (x̄ 4.03, SD 0.67) ส่วนผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจต่อความมีเมตตากรุณามากที่สุด (x̄ 4.07, SD 0.64) สำหรับด้านการปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจต่อความมีเหตุผลมากที่สุด (x̄3.84, SD 0.69 และ x̄ 3.90, SD 0.61 ตามลำดับ) 4. บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถะการปฏิบัติงานของตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ 4.24, SD 0.59) โดยมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะด้านคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุด (x̄4.34, SD 0.57) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี น้อยที่สุด (x̄3.80, SD 0.65) ส่วนความพึงพอใจต่ออัตลักษณ์บัณฑิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ 4.44, SD 0.59) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหัวใจ มีความพึงพอใจต่อความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากที่สุด (x̄ 4.63, SD 0.53) ด้านคุณธรรม 6 ประการ มีความพึงพอใจในความซื่อสัตย์มากที่สุด (x̄ 4.61, SD 0.51) และด้านการปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความพึงพอใจต่อการมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด (x̄ 4.40, SD 0.56) ข้อเสนอแนะ ควรมีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษทางวิชาชีพ ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทักษะการแก้ปัญหาตลอดจนการทำแผนการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตให้ชัดเจน
This descriptive research aimed to determine employment situation and performance competencies of the graduates of Bachelor of Nursing Science, Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University in 2010 academic year, by investigating the graduates', their supervisors', and their co-workers' satisfaction on the six domains of learning outcome indicated as graduate attributes according to Thai Qualification Framework for Higher Education of Nursing Science and on graduate identity. The questionnaires developed by the investigators consisted of 1) Satisfaction on graduate attributes in the 6 domains including, a) ethics and moral, b) knowledge, c) cognitive skills, d) interpersonal skills and responsibility, e) numerical analysis, communication and information technology skills, f) professional practice skills; and 2) Satisfaction on graduate identity. Questionnaires from 182 graduates (100%) , 73 supervisors (40.11%) and 69 co-working (37.91%) were completed and returned. Data were collected during February and March 2012 and analyzed by using percentage, means and standard deviation. The results of the study were: 1. The majority of the graduates (76.50%) were employed immeduately within the first month after their graduation and most of them (70.9%) were employed in the private hospital. 2. The overall satisfaction on graduate attributes ad evaluated by their supervisors and co-worker were ranged in good levels (x̄ 3.73, SD 0.71 and x̄ 3.76, SD 0.73 respectively) with the highest scores in ethics and moral (x̄ 3.80, SD 0.68 and x̄3,86, SD 0.71 respectively). The graduate attributed which were rated by their supervisors and co-workers as the two least satisfaction were professional English communication skills (x̄-3.15, SD 0.68 and x̄3.15, SD 0.73 respectively) and critical thinking competencies (x̄3.29, SD0.66 and x̄3.37, SD 0.66 respectively). 3 The overall satisfaction on graduate identity as evaluated by their supervisors and co-workers were ranged in good levels (x̄3.94, SD 0.70 and x̄4.00, SD 0.74 respectively). For the matter of Mursing Care from the Heart, their most satisfaction was on the graduates' teamwork competency (x̄4.11, SD0.61 and x̄ 4.14, SD 0.68 respectively). For the moral identity, the supervisors were satisfied mostly on the honesty attribute (x̄ 4.03, SD 0.67), whereas the co-workers were on the benevolence and compassion (x̄ 4.07, SD 0.64). Finally, on the subject of having a way of life compliance with Sufficient Economy Philosophy, they consistently had the most satisfaction on the reasonableness dimension (x̄3.84, SD 0.69 and x̄ 3.90, SD 0.61 respectively) 4. The graduates were satisfied on their overall competencies in a good level (x̄ 4.24, SD 0.59) with the highest score in ethics and moral (x̄4.34, SD 0.57) and the lowest score in numerical analysis, communication and information technology skills (x̄3.80, SD 0.65). They also evaluated the Heart, the most satisfaction was on accountability (x̄ 4.44, SD 0.59). By the subject of Nursing Care from the heart, the most satisfaction was on accountability (x̄ 4.63, SD 0.53). For moral identity, the most satisfaction was on honesty (x̄ 4.61, SD 0.51). The latter identity, having a way of life compliance with Sufficient Economy Philosophy, they were satisfied mostly in self immunity dimension (x̄ 4.40, SD 0.56). Suggestions: Faculty of Nursing should create strategic plan for improving teaching and learning process to facilitate the students' professional English communication skill, systematic critical thinking skill and problem solving skill. In addition, a plan for developing the graduate identity should also be explicity created.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1323
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aree.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.