Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/133
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการออมของผู้ต้องขัง : ศึกษากรณีผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครสวรรค์
Other Titles: Factors Influencing Saving Need of Prisoners : A Case Study of Prisoners in Nakhon Sawan Central Prison
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
กรกฎ แนวทัศน์
Keywords: เรือนจำกลางนครสวรรค์
การออมกับการลงทุน
การเงินส่วนบุคคล
เรือนจำ -- ไทย -- นครสวรรค์
นักโทษ -- ไทย -- นครสวรรค์
ทัณฑสถาน
Personal finance
Saving and investment
Prisoners
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานความเป็นมา และสถานภาพของผู้ต้องขัง 2) เพื่อศึกษานโยบายและมาตรการส่งเสริมการออม 3) เพื่อศึกษาระดับความต้องการออมของผู้ต้องขัง 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการออมของผู้ต้องขัง และ 5) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา “โครงการออมเพื่อชีวิตใหม่” และ “โครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)” กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครสวรรค์ที่เข้าร่วม “โครงการออมเพื่อชีวิตใหม่” หรือ “โครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)” รวม 258 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ระดับการศึกษามัธยมศึกษา สถานภาพโสด มีบุตร นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีรายได้ที่มาจากตัวเอง มีรายได้ที่มาจากครอบครัว 3,001 บาทขึ้นไปต่อเดือน ถูกกำหนดโทษมากกว่า 3 ปีขึ้นไป–5 ปี และมีฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 2) ผู้ต้องขังเห็นด้วยต่อนโยบายและมาตรการ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการออมเพื่อชีวิตใหม่และโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และการสนับสนุนทางสังคมของเรือนจำกลางนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก 3) ผู้ต้องขังมีความต้องการออมเงินอยู่ในระดับมาก และต้องการออมเงินในโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) มากกว่าโครงการออมเพื่อชีวิตใหม่ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการออมของผู้ต้องขัง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ศาสนา รายได้ที่มาจากครอบครัว ฐานความผิด ประเภทการออม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเห็นต่อหลักเกณฑ์และขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และการสนับสนุนทางสังคมของเรือนจำกลางนครสวรรค์ และ 5) เรือนจำกลางนครสวรรค์ต้องกำกับ ติดตาม และประเมินผลนโยบายและมาตรการส่งเสริมการออม ปลูกฝังค่านิยมการออมและสร้างวินัยจากการออมเงินให้แก่ผู้ต้องขัง รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาแผนการเตรียม ความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขังเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังการพ้นโทษ
The objectives of this quantitative research were 1) to study basic information, background, and status of prisoners, 2) to study policies and measures to promote savings, 3) to study the level of savings demand of prisoners, 4) to study factors influencing the savings demand of prisoners, and 5) to provide recommendations for improvement and development of the "Saving for New Life Project" and "National Savings Fund Project (NSF)". The sample consisted of 258 prisoners in Nakhon Sawan Central Prison who participated in the “Saving for New Life Project” or “National Savings Fund Project (NSF)”. The findings of this study indicated that 1) The majority of the sample were male, secondary education level, single status, having children, Buddhism, without any income from themselves, income from the family which was 3,001 baht or more, punished more than 3-5 years, and had a drug-related offense. 2) Prisoners agreed on policies and measures, criteria, and procedures for participating in the Saving for New Life Project, National Savings Fund Project (NSF), and the social support of Nakhon Sawan Central Prison at a high level. 3) Prisoners had a high level of savings and wanted to save more in the National Savings Fund Project (NSF) than the Saving for New Life Project. 4) Factors that influence prisoners' saving demands were gender, age, education level, religion, family income, offense base, type of savings, achievement motivation, opinion on criteria, procedure, participation steps in the National Savings Fund Project (NSF), and social support of Nakhon Sawan Central Prison. 5) Nakhon Sawan Central Prison had to control, monitor, and evaluate policies and measures to promote savings, instill saving values and create discipline from saving money for prisoners, including improving and developing preparedness plans before the release of prisoners to have a good quality of life after the punishment.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/133
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KORAKOD-NAEWTHAT.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.