Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1359
Title: | โครงการวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | การวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ The Evaluation of Master of Business Administration, Academic Year 2006 Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | Nuch Sattachatmongkol พวงชมพู โจนส์ อรรถพล ธรรมไพบูลย์ มณฑล สรไกรกิติกูล นุช สัทธาฉัตรมงคล Puangchompoo Jones Monthon Sorakraikitikul Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation การบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร Industrial management -- Curricula การบริหารธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน Industrial management -- Study and teaching |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยสำหรับประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดทำตามนโยบายของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การผลิตที่มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศ้ยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนและผู้สอน เป็นต้น ทำให้การจัดทำงานวิจัยต้องทำการศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนและพัฒนาประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อีกทั้งยังทำให้ทราบว่าหลักสูตรนั้นๆ ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้หรือไม่ และต้องการปรับปรุงในส่วนใดและต้องปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้มีประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และผู้ใช้มหาบัณฑิต เนื่องจากลุ่มประชาการมีไม่มาก จึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างคือประชากรท้้งหมดแบบสอบถามจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิจัยประเมินคุณภาพหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก 4 แหล่ง คือ 1. นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ส่งแบบสอบถามสำรวจ 21 ชุด ตอบกลับ 18 ชุด 2.มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จำนวน 31 คน ตอบกลับ 23 ชุด 3. อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ส่งแบบสอบถามสำรวจ 30 ขุด ตอบกลับ 17 ชุด 4. ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ส่งแบบสอบถามสำรวจ 31 ชุด ตอบกลับ 9 ชุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาปัจจุบันที่มีต่อปัจจัยในการประเมินหลักสูตรในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้บรรยายพบว่า นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1. ความมีคุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นครู ความเป็นแบบอย่างที่ดีในวิชาชีพ อันดับที่ 2 ความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ความสามารถในการทำวิจัย ทักษะในการถ่ายทอด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาที่สอนเป็นอย่างดี อันดับที่ 3 มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา พบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 จำนวนหน่วยกิตรวม (42 หน่วยกิต) มีความเหมาะสม อันดับที่ 2 เนื้อหารายวิชาให้มีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ และอันดับที่ 3 เนื้อหารายวิชาของหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการปฏิบัติงานจริง ด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 นักศึกษาสามารถซักถามเมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจ อันดับที่ 2 อาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน อันดับที่ 3 นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายเนื้อหาในการเรียนการสอน สำหรับความพึงใจของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยเกี่ยวกับงานพบว่า ปัจจัยที่นักศึกษามีควาามพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงานอันดับที่ 2 คุณค่าและความสำคัญของงานที่ปฏิบัติ อันดับที่ 3 สภาพแวดล้อมในการทำงานหัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา การปกครองบังคับบัญชาและความก้าวหน้าในงาน ในด้านความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อปัจจัยในการประเมินหลักสูตรในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนบรรยายพบว่านักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 ความมีคุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นครู อันดับที่ 2 ความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ อันดับที่ 3 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาที่สอน ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา พบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 เนื้อหารายวิชาให้มีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ อันดับที่ 2 จำนวนหน่วยกิตรวม (45 หน่วยกิต) มีความเหมาะสม และอันดับที่ 3 เนื้อหารายวิชาส่งเสริมเป็นนักธุรกิจที่ดี ด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 นักศึกษาสามารถซักถามเมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่ เข้าใจ อันดับที่ 2 อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาล่วงหน้า อันดับที่ 3 อาจารย์ผู้เสนอเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน สำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยเกี่ยวกับงาน พบว่าปัจจัยที่นักศึกษามีความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คุณค่าและความสำคัญของงานที่ปฏิบัติ อันดับที่ 2 ความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีกลมเกลียวในองค์กร อันดับที่ 3 การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนของความคิดเห็นจากอาจารย์ประจำหลักสูตรพบว่าการบริหารหลักสูตรกิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการบริหารหลักสูตรในรูปของคณะกรรมการ คณะมีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน มีการกำกับดูแลมาตรฐานการศึกษา ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาในการศึกษา พบว่าปัจจัยที่อาจารย์เห็นด้วยมากที่สุดเรื่องรายวิชาต่างๆ ควรเรียงลำดับจากง่ายไปยาก รองลงมาคือ การสามารถนำไปประยุกต์และใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ด้านประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตร พบว่าปัจจัยที่อาจารย์เห็นด้วยมากที่สุด เรื่อง การมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ระหว่างการศึกษา รองลงมาคือมีกิจกรรมที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร สำหรับข้อมูลที่รวบรวมจากผู้ใช้มหาบัณฑิต พบว่า ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างส่วนใหญ่ที่มีต่อมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มากที่สุด คือความพึงพอใจในด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ในเรื่องการปฏิบัติงานเสร็จตามกำหนดเวลา ในด้านทัศนคติ ค่าความนิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ในเรื่องความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ และด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ สำหรับคุณลักษณะของมหาบัณฑิตที่ผู้ประกอบการพึงประสงค์พบว่า ลำดับที่ 1 คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ลำดับที่ 2 คือ มีความเป็นผู้นำ ลำดับที่ 3 มีความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการประสานงาน |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1359 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Puangchompoo-Jones.pdf | 31.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.